เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [10. อานาปานสังยุต]
2. ทุติยวรรค 3. ปฐมอานันทสูตร

3. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะรู้แจ้งจิต หายใจเข้า สำเหนียกว่า
จะรู้แจ้งจิต หายใจออก สำเหนียกว่า จะยังจิตให้บันเทิงหายใจเข้า
ฯลฯ จะตั้งจิตมั่น ... สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็น
จิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราไม่กล่าวการ
เจริญอานาปานสติสมาธิไว้สำหรับผู้หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ
เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
4. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ฯลฯ
จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้ ... จะพิจารณาเห็นความ
ดับไป ... สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก สมัยนั้น
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เธอเห็น
การละอภิชฌาและโทมนัสนั้นด้วยปัญญาแล้ววางเฉยอย่างดี
เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย
อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกได้
อานนท์ อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงทำให้สติปัฏฐาน 4 ประการบริบูรณ์
สติปัฏฐาน 4 ประการที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึง
ทำให้โพชฌงค์ 7 ประการบริบูรณ์ คือ
1. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ สมัยนั้น สติของเธอ
ตั้งมั่น ไม่หลงลืม
(1) สมัยใด สติของภิกษุย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม สมัยนั้น สติ-
สัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญสติ-
สัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :475 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [10. อานาปานสังยุต]
2. ทุติยวรรค 3. ปฐมอานันทสูตร

(2) เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ค้นหาพิจารณาสอดส่องธรรมนั้น
ด้วยปัญญา สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น ค้นหา
พิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยนั้น ธัมม-
วิจยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญ
เต็มที่แก่ภิกษุ
(3) เมื่อเธอค้นหาพิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา
ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนชื่อว่าเป็นอันปรารภแล้ว สมัยใด
ความเพียรไม่ย่อหย่อนเป็นอันภิกษุผู้ค้นคว้าพิจารณาสอด
ส่องธรรมนั้นด้วยปัญญาปรารภแล้ว สมัยนั้น วิริย-
สัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญวิริย-
สัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
(4) ปีติไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร สมัยใด
ปีติไม่มีอามิสเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร สมัยนั้น
ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญปีติ-
สัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่
ภิกษุ
(5) แม้กายของภิกษุผู้มีใจมีปีติย่อมระงับ แม้จิตก็ระงับ สมัยใด
แม้กายของภิกษุผู้มีใจมีปีติย่อมระงับ แม้จิตก็ระงับ สมัย
นั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุ
เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสิทธิสัมโพชฌงค์จึงถึงความ
เจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
(6) จิตของภิกษุผู้มีกายระงับ มีสุข ย่อมตั้งมั่น สมัยใด จิต
ของภิกษุผู้มีกายระงับ มีสุข ย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิ
สัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญสมาธิ
สัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่
แก่ภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :476 }