เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [10. อานาปานสังยุต]
2. ทุติยวรรค 3. ปฐมอานันทสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ความจริง บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงธรรมนั้น
ใดว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง
ก็พึงกล่าวถึงอานาปานสติสมาธิว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหาร
บ้าง’
ขอถวายพระพร มหาบพิตร ขอพระองค์ทรงทราบเรื่องนี้โดยปริยายที่ว่า
เสขวิหารธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ตถาคตวิหารธรรมก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง”

กังเขยยสูตรที่ 2 จบ

3. ปฐมอานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ สูตรที่ 1

[989] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม 4 ประการบริบูรณ์ ธรรม
4 ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม 7 ประการบริบูรณ์ ธรรม 7
ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม 2 ประการบริบูรณ์ มีอยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ทำให้ธรรม 4 ประการบริบูรณ์ ธรรม 4 ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ทำให้ธรรม 7 ประการบริบูรณ์ ธรรม 7 ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ทำให้ธรรม 2 ประการบริบูรณ์ มีอยู่”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้
ธรรม 4 ประการบริบูรณ์ ธรรม 4 ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม
7 ประการบริบูรณ์ ธรรม 7 ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม 2
ประการบริบูรณ์ เป็นอย่างไร”
“อานนท์ ธรรมอันเป็นเอกคืออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ทำให้สติปัฏฐาน 4 ประการบริบูรณ์ สติปัฏฐาน 4 ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้
มากแล้ว ทำให้โพชฌงค์ 7 ประการบริบูรณ์ โพชฌงค์ 7 ประการที่ภิกษุเจริญ
ทำให้มากแล้ว ทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :473 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [10. อานาปานสังยุต]
2. ทุติยวรรค 3. ปฐมอานันทสูตร

อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำให้
สติปัฏฐาน 4 ประการบริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้
บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจ
ออกยาว ฯลฯ สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า จะพิจารณา
เห็นความสละคืน หายใจออก
1. สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หรือ
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็
รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
ฯลฯ สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจเข้า จะระงับ
กายสังขาร หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรากล่าวกายอย่างหนึ่ง คือ
ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุ
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
2. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะรู้แจ้งปีติ หายใจเข้า สำเหนียกว่า
จะรู้แจ้งปีติ หายใจออก ฯลฯ จะรู้แจ้งสุข ... จะรู้แจ้งจิตตสังขาร
... สำเหนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกว่า
จะระงับจิตตสังขาร หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
เรากล่าวเวทนาอย่างหนึ่ง คือ การมนสิการให้ดีถึงลมหายใจ
เข้าและลมหายใจออก เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :474 }