เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [10. อานาปานสังยุต]
2. ทุติยวรรค 2. กังเขยยสูตร

มหาบพิตร สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์ชื่ออิจฉานังคละ
เขตกรุงอิจฉานังคละ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่คนเดียวสัก 3 เดือน ใคร ๆ อย่าเข้า
ไปหาเรา ยกเว้นภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว’ ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
สนองพระดำรัสแล้ว ใน 3 เดือนนี้ จึงไม่มีใคร ๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเลย
ยกเว้นภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว
ครั้นล่วง 3 เดือนนั้นไป พระผู้มีพระภาคก็เสด็จออกจากที่หลีกเร้นแล้ว รับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถาม
เธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย โดยมากพระสมณโคดมทรงอยู่จำพรรษา
ด้วยวิหารธรรมข้อไหน’ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบอัญญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย โดยมากพระผู้มีพระภาคทรงอยู่จำพรรษาด้วย
อานาปานสติสมาธิ’
ภิกษุทั้งหลาย ขณะนี้เรามีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว
ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว ฯลฯ
ย่อมรู้ชัดว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า จะพิจารณาเห็นความสละคืน
หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย ความจริง บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงธรรมนั้น
ใดว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง
พึงกล่าวถึงอานาปานสติสมาธิว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง
ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผล ปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ
อันยอดเยี่ยมอยู่ อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเหล่านั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อความสิ้นอาสวะ ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้น
ภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเหล่านั้นเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันและเพื่อมีสติ มีสัมปชัญญะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :472 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [10. อานาปานสังยุต]
2. ทุติยวรรค 3. ปฐมอานันทสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ความจริง บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงธรรมนั้น
ใดว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง
ก็พึงกล่าวถึงอานาปานสติสมาธิว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหาร
บ้าง’
ขอถวายพระพร มหาบพิตร ขอพระองค์ทรงทราบเรื่องนี้โดยปริยายที่ว่า
เสขวิหารธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ตถาคตวิหารธรรมก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง”

กังเขยยสูตรที่ 2 จบ

3. ปฐมอานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ สูตรที่ 1

[989] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม 4 ประการบริบูรณ์ ธรรม
4 ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม 7 ประการบริบูรณ์ ธรรม 7
ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม 2 ประการบริบูรณ์ มีอยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ทำให้ธรรม 4 ประการบริบูรณ์ ธรรม 4 ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ทำให้ธรรม 7 ประการบริบูรณ์ ธรรม 7 ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ทำให้ธรรม 2 ประการบริบูรณ์ มีอยู่”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้
ธรรม 4 ประการบริบูรณ์ ธรรม 4 ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม
7 ประการบริบูรณ์ ธรรม 7 ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม 2
ประการบริบูรณ์ เป็นอย่างไร”
“อานนท์ ธรรมอันเป็นเอกคืออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ทำให้สติปัฏฐาน 4 ประการบริบูรณ์ สติปัฏฐาน 4 ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้
มากแล้ว ทำให้โพชฌงค์ 7 ประการบริบูรณ์ โพชฌงค์ 7 ประการที่ภิกษุเจริญ
ทำให้มากแล้ว ทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :473 }