เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [10. อานาปานสังยุต]
2. ทุติยวรรค 2. กังเขยยสูตร

ย่อมปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ อานาปานสติสมาธิที่
ภิกษุเหล่านั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ ส่วนภิกษุ
เหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลง
ภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้ว
เพราะรู้โดยชอบ อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเหล่านั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบันและเพื่อมีสติ มีสัมปชัญญะ
ภิกษุทั้งหลาย ความจริง บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงธรรมนั้น
ใดว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง
ก็พึงกล่าวถึงอานาปานสติสมาธิว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง”

อิจฉานังคลสูตรที่ 1 จบ

2. กังเขยยสูตร
ว่าด้วยข้อกังขาของเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ

[988] สมัยหนึ่ง ท่านพระโลมสกังภิยะอยู่ที่นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะทรงพระนามว่ามหานามะ เสด็จเข้าไปหาท่าน
พระโลมสกังภิยะถึงที่อยู่ ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้ตรัสถามท่าน
พระโลมสกังภิยะดังนี้ว่า “พระคุณเจ้าผู้เจริญ เสขวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่
ของพระเสขะ) กับตถาคตวิหารธรรมเป็นอย่างเดียวกันหรือ หรือว่าเสขวิหารธรรม
เป็นอย่างหนึ่ง ตถาคตวิหารธรรมเป็นอีกอย่างหนึ่ง”
ท่านพระโลมสกังภิยะ ถวายพระพรว่า “ขอถวายพระพร มหาบพิตร
เสขวิหารธรรมกับตถาคตวิหารธรรมไม่ใช่อย่างเดียวกัน เสขวิหารธรรมเป็นอย่าง
หนึ่ง ตถาคตวิหารธรรมเป็นอีกอย่างหนึ่ง
มหาบพิตร ภิกษุเหล่าใดเป็นพระเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผล ปรารถนาธรรม
เป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าละนิวรณ์ 5 ประการอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :470 }