เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [10. อานาปานสังยุต]
1. เอกธัมมวรรค 10. กิมิลสูตร

เพราะเรากล่าวกายอย่างหนึ่ง คือ ลมหายใจเข้าและลมหายใจ
ออก เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน
โลกได้
2. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะรู้แจ้งปีติ หายใจเข้า สำเหนียกว่า
จะรู้แจ้งปีติ หายใจออก สำเหนียกว่า จะรู้แจ้งสุข หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะรู้แจ้งสุข หายใจออก สำเหนียกว่า จะรู้แจ้ง
จิตตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะรู้แจ้งจิตตสังขาร หายใจ
ออก สำเนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกว่า
จะระงับจิตตสังขาร หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
เรากล่าวเวทนาอย่างหนึ่ง คือ การมนสิการให้ดีถึงลมหายใจเข้า
และลมหายใจออก เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
3. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะรู้แจ้งจิต หายใจเข้า สำเหนียกว่า
จะรู้แจ้งจิต หายใจออก สำเหนียกว่า จะยังจิตให้บันเทิง หายใจ
เข้า ฯลฯ สำเหนียกว่า จะตั้งจิตมั่น หายใจออก สำเหนียกว่า
จะเปลื้องจิต หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจออก
สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราไม่กล่าวการเจริญอานาปานสติสมาธิไว้ สำหรับผู้หลง
ลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุ
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :467 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [10. อานาปานสังยุต]
1. เอกธัมมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

4. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจ
เข้า ฯลฯ สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้
หายใจเข้า ... สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความดับไป หายใจ
เข้า ... สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก สมัยนั้น
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เธอเห็น
การละอภิชฌาและโทมนัสนั้นด้วยปัญญาแล้ววางเฉยอย่างดี
เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย
อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกได้
อานนท์ ดินกองใหญ่ที่ถนนใหญ่ 4 แยก ถ้าเกวียนหรือรถผ่านมาทางทิศ
ตะวันออก ก็จะกระทบดินกองนั้น ถ้าผ่านมาทางทิศตะวันตก ... ถ้าผ่านมาทาง
ทิศเหนือ ... ถ้าเกวียนหรือรถผ่านมาทางทิศใต้ ก็จะกระทบดินกองนั้น แม้ฉันใด
ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ก็ดี ชื่อว่าย่อมกำจัดบาปอกุศลธรรมได้ เมื่อ
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ เมื่อพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ เมื่อ
พิจาณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายก็ดี ชื่อว่าย่อมกำจัดบาปอกุศลธรรมได้ ก็ฉัน
นั้นเหมือนกัน”

กิมิลสูตรที่ 10 จบ
เอกธัมมวรรคที่ 1 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. เอกธัมมสูตร 2. โพชฌังคสูตร
3. สุทธิกสูตร 4. ปฐมผลสูตร
5. ทุติยผลสูตร 6. อริฏฐสูตร
7. มหากัปปินสูตร 8. ปทีโปปมสูตร
9. เวสาลีสูตร 10. กิมิลสูตร