เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [10. อานาปานสังยุต]
1. เอกธัมมวรรค 10. กิมิลสูตร

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้ ท่านพระกิมิละได้นิ่งเฉย
แม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ
แม้ครั้งที่ 3 พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระกิมิละมาตรัสถามว่า “กิมิละ
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มี
อานิสงส์มาก” แม้ครั้งที่ 3 ท่านพระกิมิละก็ได้นิ่งเฉย
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ถึงเวลาที่พระองค์จะพึงตรัสอานาปานสติ-
สมาธิ ข้าแต่พระสุคต ถึงเวลาที่พระองค์จะพึงตรัสอานาปานสติสมาธิ ภิกษุทั้ง
หลายได้สดับจากพระองค์แล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เรา
จักกล่าว” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
“อานนท์ อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร
จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้
บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ฯลฯ
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณา
เห็นความสละคืน หายใจออก
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
1. สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อ
หายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัด
ว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
สำเหนียกว่า จะรู้แจ้งกองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะรู้
แจ้งกองลมทั้งปวง หายใจออก สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร
หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจออก สมัยนั้น
ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :466 }