เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [10. อานาปานสังยุต]
1. เอกธัมมวรรค 7. มหากัปปินสูตร

“อริฏฐะ อานาปานสติจะทำให้บริบูรณ์ได้โดยพิสดาร อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจ
เข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว ฯลฯ สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน
หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก
อริฏฐะ อานาปานสติจะทำให้บริบูรณ์ได้โดยพิสดาร อย่างนี้แล”

อริฏฐสูตรที่ 6 จบ

7. มหากัปปินสูตร
ว่าด้วยพระมหากัปปินะ

[983] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น ท่านพระมหากัปปินะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
ณ ที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระ
มหากัปปินะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ ที่ไม่ไกล แล้วรับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นกายของภิกษุ
นั้นไหวหรือเอนเอียงไหม”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลาใดข้าพระองค์ทั้งหลาย
เห็นท่านผู้มีอายุนั้นนั่งในท่ามกลางสงฆ์ หรือนั่งในที่สงัดตามลำพัง เวลานั้น
ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่เห็นกายของท่านผู้มีอายุนั้นไหวหรือเอนเอียง”
“ภิกษุทั้งหลาย การที่กายไม่ไหวหรือเอนเอียง หรือการที่จิตไม่ไหวหรือดิ้นรน
เพราะสมาธิใดที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว สมาธินั้นภิกษุนั้นได้ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
การที่กายไม่ไหวหรือเอนเอียง หรือการที่จิตไม่ไหวหรือดิ้นรน เพราะ
สมาธิอย่างไหนที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :459 }