เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [10. อานาปานสังยุต]
1. เอกธัมมวรรค 6. อริฏฐสูตร

4. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
5. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
6. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
7. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะอุทธัม-
ภาคิยสังโยชน์ 5 ประการสิ้นไป
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ภิกษุพึงหวังผลานิสงส์ 7 ประการนี้”1

ทุติยผลสูตรที่ 5 จบ

6. อริฏฐสูตร
ว่าด้วยพระอริฏฐะ

[982] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ฯลฯ ได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายดังนี้ว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังเจริญอานาปานสติอยู่หรือ” เมื่อพระผู้มีพระภาตตรัส
ถามอย่างนี้แล้ว ท่านพระอริฏฐะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าพระองค์
ยังเจริญอานาปานสติอยู่ พระพุทธเจ้าข้า”
“อริฏฐะ เธอเจริญอานาปานสติอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กามฉันทะในกามทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ข้าพระองค์
ก็ละได้แล้ว กามฉันทะในกามทั้งหลายที่ยังไม่มาถึงของข้าพระองค์ก็ไปปราศแล้ว
ปฏิฆสัญญาในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอก ข้าพระองค์ก็กำจัดแล้ว ข้าพระ
องค์มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ข้าพระองค์เจริญอานาปานสติอยู่อย่างนี้
พระพุทธเจ้าข้า”
“อริฏฐะ อานาปานสตินั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่าไม่มี แต่ว่าอานาปานสติจะ
ทำให้บริบูรณ์ได้โดยพิสดารด้วยวิธีใด เธอจงตั้งใจฟังวิธีนั้นให้ดี เราจักกล่าว”
ท่านพระอริฏฐะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [10. อานาปานสังยุต]
1. เอกธัมมวรรค 7. มหากัปปินสูตร

“อริฏฐะ อานาปานสติจะทำให้บริบูรณ์ได้โดยพิสดาร อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจ
เข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว ฯลฯ สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน
หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก
อริฏฐะ อานาปานสติจะทำให้บริบูรณ์ได้โดยพิสดาร อย่างนี้แล”

อริฏฐสูตรที่ 6 จบ

7. มหากัปปินสูตร
ว่าด้วยพระมหากัปปินะ

[983] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น ท่านพระมหากัปปินะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
ณ ที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระ
มหากัปปินะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ ที่ไม่ไกล แล้วรับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นกายของภิกษุ
นั้นไหวหรือเอนเอียงไหม”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลาใดข้าพระองค์ทั้งหลาย
เห็นท่านผู้มีอายุนั้นนั่งในท่ามกลางสงฆ์ หรือนั่งในที่สงัดตามลำพัง เวลานั้น
ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่เห็นกายของท่านผู้มีอายุนั้นไหวหรือเอนเอียง”
“ภิกษุทั้งหลาย การที่กายไม่ไหวหรือเอนเอียง หรือการที่จิตไม่ไหวหรือดิ้นรน
เพราะสมาธิใดที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว สมาธินั้นภิกษุนั้นได้ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
การที่กายไม่ไหวหรือเอนเอียง หรือการที่จิตไม่ไหวหรือดิ้นรน เพราะ
สมาธิอย่างไหนที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :459 }