เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [10. อานาปานสังยุต]
1. เอกธัมมวรรค 5. ทุติยผลสูตร

อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงมีผลมาก มี
อานิสงส์มาก
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
พึงหวังผล 1 อย่าง ใน 2 อย่าง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมี
อุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นพระอนาคามี”

ปฐมผลสูตรที่ 4 จบ

5. ทุติยผลสูตร
ว่าด้วยผลแห่งการเจริญอานาปานสติ สูตรที่ 2

[981] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ฯลฯ
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณา
เห็นความสละคืน หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ภิกษุพึงหวังผลานิสงส์ 7 ประการ
ผลานิสงส์ 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. จะได้บรรลุอรหัตตผลทันทีในปัจจุบัน
2. หากปัจจุบันไม่ได้บรรลุ ก็จะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย
3. หากปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ ก็จะได้เป็นพระ
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :457 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [10. อานาปานสังยุต]
1. เอกธัมมวรรค 6. อริฏฐสูตร

4. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
5. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
6. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
7. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะอุทธัม-
ภาคิยสังโยชน์ 5 ประการสิ้นไป
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ภิกษุพึงหวังผลานิสงส์ 7 ประการนี้”1

ทุติยผลสูตรที่ 5 จบ

6. อริฏฐสูตร
ว่าด้วยพระอริฏฐะ

[982] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ฯลฯ ได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายดังนี้ว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังเจริญอานาปานสติอยู่หรือ” เมื่อพระผู้มีพระภาตตรัส
ถามอย่างนี้แล้ว ท่านพระอริฏฐะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าพระองค์
ยังเจริญอานาปานสติอยู่ พระพุทธเจ้าข้า”
“อริฏฐะ เธอเจริญอานาปานสติอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กามฉันทะในกามทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ข้าพระองค์
ก็ละได้แล้ว กามฉันทะในกามทั้งหลายที่ยังไม่มาถึงของข้าพระองค์ก็ไปปราศแล้ว
ปฏิฆสัญญาในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอก ข้าพระองค์ก็กำจัดแล้ว ข้าพระ
องค์มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ข้าพระองค์เจริญอานาปานสติอยู่อย่างนี้
พระพุทธเจ้าข้า”
“อริฏฐะ อานาปานสตินั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่าไม่มี แต่ว่าอานาปานสติจะ
ทำให้บริบูรณ์ได้โดยพิสดารด้วยวิธีใด เธอจงตั้งใจฟังวิธีนั้นให้ดี เราจักกล่าว”
ท่านพระอริฏฐะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า