เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [8. อนุรุทธสังยุต]
1. รโหคตวรรค 2. ทุติยรโหคตสูตร

หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ก็มีความ
หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ฯลฯ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ
ในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้ง 2 นั้นอยู่
4. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในธรรมทั้งหลายภายใน ฯลฯ ใน
ธรรมทั้งหลายภายนอก ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิด
ในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็น
ธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในธรรม
ทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ฯลฯ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ
ในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้ง 2 นั้นอยู่
ท่านผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าปรารภสติปัฏฐาน 4 ประการ”

ปฐมรโหคตสูตรที่ 1 จบ

2. ทุติยรโหคตสูตร
ว่าด้วยผู้หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด สูตรที่ 2

[900] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความคิดคำนึงขึ้นมาว่า
“สติปัฏฐาน 4 ประการอันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งพลาดแล้ว อริยมรรคที่ให้ถึง
ความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันชนเหล่านั้นพลาดแล้ว สติปัฏฐาน 4
ประการอันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ก็ชื่อว่าเป็นอันชนเหล่านั้นปรารภแล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :432 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [8. อนุรุทธสังยุต]
1. รโหคตวรรค 2. ทุติยรโหคตสูตร

ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะทราบความรำพึงของท่านพระอนุรุทธะ
ด้วยใจ จึงหายตัวไปปรากฏเฉพาะหน้าของท่านพระอนุรุทธะ เหมือนบุรุษมีกำลัง
เหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น
ทีนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่าน
อนุรุทธะ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่าปรารภสติปัฏฐาน 4 ประการ”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาเห็นกายในกายภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นกายใน
กายภายนอกอยู่ มีความเพียร ฯลฯ พิจารณาเห็นกายในกาย
ทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
2. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายภายในอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนาทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
3. พิจารณาเห็นจิตในจิตภายในอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตภาย
นอก ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน
โลกได้
4. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายใน ฯลฯ พิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอก ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ท่านผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าปรารภสติปัฏฐาน 4 ประการ”

ทุติยรโหคตสูตรที่ 2 จบ