เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [7. อิทธิปาทสังยุต]
3. อโยคุฬวรรค 10. ทุติยภิกขุสูตร

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย อิทธิ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น
หลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึง
พรหมโลกก็ได้
นี้เรียกว่า อิทธิ
อิทธิบาท เป็นอย่างไร
คือ มรรคใด ปฏิปทาใดเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะซึ่งฤทธิ์
นี้เรียกว่า อิทธิบาท
อิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
2. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
3. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
4. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
นี้เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา
ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้แล ได้แก่
1. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ 8. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา”

ทุติยภิกขุสูตรที่ 10 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [7. อิทธิปาทสังยุต]
3. อโยคุฬวรรค 11. โมคคัลลานสูตร

11. โมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยพระโมคคัลลานะ

[843] ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะธรรมเหล่าไหนที่เธอเจริญ ทำให้มากแล้ว”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะ
อิทธิบาท 4 ประการที่ภิกษุโมคคัลลานะนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว
อิทธิบาท 4 ประการ อะไรบ้าง
คือ ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุโมคคัลลานะ
1. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่ ด้วยประการฉะนี้
2. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
3. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
4. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก ฯลฯ มีใจสงัด ไม่มี
เครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ ด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :422 }