เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [7. อิทธิปาทสังยุต]
3. อโยคุฬวรรค 6. ทุติยผลสูตร

5. ปฐมผลสูตร
ว่าด้วยผลแห่งการเจริญอิทธิบาท สูตรที่ 1

[837] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท 4 ประการนี้
อิทธิบาท 4 ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
2. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
3. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
4. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
อิทธิบาท 4 ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอิทธิบาท 4 ประการนี้ที่ภิกษุนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุพึงหวังผลอย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมี
อุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นพระอนาคามี”

ปฐมผลสูตรที่ 5 จบ

6. ทุติยผลสูตร
ว่าด้วยผลแห่งการเจริญอิทธิบาท สูตรที่ 2

[838] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท 4 ประการนี้
อิทธิบาท 4 ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
2. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
3. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
4. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
อิทธิบาท 4 ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :416 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [7. อิทธิปาทสังยุต]
3. อโยคุฬวรรค 7. ปฐมอานันทสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอิทธิบาท 4 ประการนี้ที่ภิกษุนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุพึงหวังผลานิสงส์ 7 ประการ
ผลานิสงส์ 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. จะได้บรรลุอรหัตตผลทันทีในปัจจุบัน
2. หากไม่ได้บรรลุอรหัตตผลในปัจจุบัน จะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย
3. หากในปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ ก็จะได้เป็น
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
4. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
5. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
6. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
7. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการสิ้นไป
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอิทธิบาท 4 ประการนี้ที่ภิกษุนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุพึงหวังผลานิสงส์ 7 ประการนี้”1

ทุติยผลสูตรที่ 6 จบ

7. ปฐมอานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ สูตรที่ 1

[839] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อิทธิ เป็นอย่างไร อิทธิบาท เป็นอย่างไร อิทธิบาท-
ภาวนาเป็นอย่างไร ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแสดงฤทธิ์ได้
หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้
ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิ