เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [7. อิทธิปาทสังยุต]
2. ปาสาทกัมปนวรรค 10. วิภังคสูตร

จิตที่ย่อหย่อนนัก เป็นอย่างไร
คือ จิตที่สหรคตด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน
นี้เรียกว่า จิตที่ย่อหย่อนนัก
จิตที่ต้องประคับประคองเกินไป เป็นอย่างไร
คือ จิตที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ
นี้เรียกว่า จิตที่ต้องประคับประคองเกินไป
จิตที่หดหู่ในภายใน เป็นอย่างไร
คือ จิตที่สหรคตด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ
นี้เรียกว่า จิตที่หดหู่ในภายใน
จิตที่ซ่านไปในภายนอก เป็นอย่างไร
คือ จิตที่ซ่านไป ฟุ้งไป ปรารภกามคุณ 5 ประการในภายนอก
นี้เรียกว่า จิตที่ซ่านไปในภายนอก ฯลฯ
ภิกษุชื่อว่ามีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ เป็นอย่างนี้แล
วิมังสาที่ย่อหย่อนนัก เป็นอย่างไร
คือ วิมังสาที่สหรคตด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน
นี้เรียกว่า วิมังสาที่ย่อหย่อนนัก
วิมังสาที่ต้องประคับประคองเกินไป เป็นอย่างไร
คือ วิมังสาที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ
นี้เรียกว่า วิมังสาที่ต้องประคับประคองเกินไป
วิมังสาที่หดหู่ในภายใน เป็นอย่างไร
คือ วิมังสาที่สหรคตด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ
นี้เรียกว่า วิมังสาที่หดหู่ในภายใน
วิมังสาที่ซ่านไปในภายนอก เป็นอย่างไร
คือ วิมังสาที่ซ่านไป ฟุ้งไป ปรารภกามคุณ 5 ประการ ในภายนอก
นี้เรียกว่า วิมังสาที่ซ่านไปในภายนอก ฯลฯ
ภิกษุชื่อว่ามีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :410 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [7. อิทธิปาทสังยุต]
2. ปาสาทกัมปนวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท 4 ประการที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มาก
แล้วอย่างนี้ จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออิทธิบาท 4 ประการนี้ที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มาก
แล้วอย่างนี้ ภิกษุย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
เมื่ออิทธิบาท 4 ประการนี้ที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ภิกษุทำ
ให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

วิภังคสูตรที่ 10 จบ

(แม้อภิญญาทั้ง 6 ก็พึงให้พิสดาร)

ปาสาทกัมปนวรรคที่ 2 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ปุพพสูตร 2. มหัปผลสูตร
3. ฉันทสมาธิสูตร 4. โมคคัลลานสูตร
5. อุณณาภพราหมณสูตร 6. ปฐมพราหมณสูตร
7. ทุติยพราหมณสูตร 8. ภิกขุสูตร
9. อิทธาทิเทสนาสูตร 10. วิภังคสูตร