เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [7. อิทธิปาทสังยุต]
2. ปาสาทกัมปนวรรค 10. วิภังคสูตร

ภิกษุชื่อว่ามีความหมายรู้ว่าเบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่า
เบื้องหลังเหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุมีความหมายรู้ว่าเบื้องบนเหมือนเบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน
อยู่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณากายนี้ขึ้นเบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป
พิจารณาลงเบื้องล่างแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่
สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า ‘ในร่างกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น
กระดูก เยื่อในกระดูก ไต1 หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม2 ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย
อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน
น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร3’
ภิกษุชื่อว่ามีความหมายรู้ว่าเบื้องบนเหมือนเบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบนอยู่
เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุมีความหมายรู้ว่ากลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืน
อยู่ เป็นอย่างไร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [7. อิทธิปาทสังยุต]
2. ปาสาทกัมปนวรรค 10. วิภังคสูตร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
ในกลางวันด้วยอาการเหล่าใด ด้วยเพศเหล่าใด ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอก็เจริญ
อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารในกลางคืนด้วยอาการเหล่านั้น
ด้วยเพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่
ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารในกลางคืนด้วยอาการเหล่าใด ด้วยเพศเหล่าใด
ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอก็เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารในกลางวัน
ด้วยอาการเหล่านั้น ด้วยเพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น
ภิกษุชื่อว่ามีความหมายรู้ว่ากลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืนอยู่
เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุมีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ เป็นอย่างไร
คือ อาโลกสัญญา (ความหมายรู้แสงสว่าง) อันภิกษุในธรรมวินัยนี้เรียนไว้ดี
ความหมายรู้ว่ากลางวัน ตั้งมั่นดี
ภิกษุชื่อว่ามีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ เป็นอย่างนี้แล
วิริยะที่ย่อหย่อนนัก เป็นอย่างไร
คือ วิริยะที่สหรคตด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน
นี้เรียกว่า วิริยะที่ย่อหย่อนนัก
วิริยะที่ต้องประคับประคองเกินไป เป็นอย่างไร
คือ วิริยะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ
นี้เรียกว่า วิริยะที่ต้องประคับประคองเกินไป
วิริยะที่หดหู่ในภายใน เป็นอย่างไร
คือ วิริยะที่สหรคตด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ
นี้เรียกว่า วิริยะที่หดหู่ในภายใน
วิริยะที่ซ่านไปในภายนอก เป็นอย่างไร
คือ วิริยะที่ซ่านไป ฟุ้งไป ปรารภกามคุณ 5 ประการในภายนอก
นี้เรียกว่า วิริยะที่ซ่านไปในภายนอก ฯลฯ
ภิกษุชื่อว่ามีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :409 }