เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [7. อิทธิปาทสังยุต]
2. ปาสาทกัมปนวรรค 10. วิภังคสูตร

3. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
4. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
นี้เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา
ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ได้แก่

1. สัมมาทิฏฐิ 2. สัมมาสังกัปปะ
3. สัมมาวาจา 4. สัมมากัมมันตะ
5. สัมมาอาชีวะ 6. สัมมาวายามะ
7. สัมมาสติ 8. สัมมาสมาธิ

นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา”

อิทธาทิเทสนาสูตรที่ 9 จบ

10. วิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอิทธิบาท

[832] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท 4 ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
อิทธิบาท 4 ประการที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า ฉันทะ
ของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป ไม่
หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :406 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [7. อิทธิปาทสังยุต]
2. ปาสาทกัมปนวรรค 10. วิภังคสูตร

2. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
3. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
4. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่
ฉันทะที่ย่อหย่อนนัก เป็นอย่างไร
คือ ฉันทะที่สหรคตด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน
นี้เรียกว่า ฉันทะที่ย่อหย่อนนัก
ฉันทะที่ต้องประคับประคองเกินไป เป็นอย่างไร
คือ ฉันทะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ
นี้เรียกว่า ฉันทะที่ต้องประคับประคองเกินไป
ฉันทะที่หดหู่ในภายใน เป็นอย่างไร
คือ ฉันทะที่สหรคตด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ
นี้เรียกว่า ฉันทะที่หดหู่ในภายใน
ฉันทะที่ซ่านไปในภายนอก เป็นอย่างไร
คือ ฉันทะที่ซ่านไป ฟุ้งไป ปรารภกามคุณ 5 ประการในภายนอก
นี้เรียกว่า ฉันทะที่ซ่านไปในภายนอก
ภิกษุมีความหมายรู้ว่าเบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่า
เบื้องหลังเหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เป็นอย่างไร
คือ ความหมายรู้ว่าเบื้องหน้าและเบื้องหลังอันภิกษุในธรรมวินัยนี้เรียนดี
ใส่ใจดี ทรงจำดี รู้แจ้งดีแล้วด้วยปัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :407 }