เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [7. อิทธิปาทสังยุต]
2. ปาสาทกัมปนวรรค 4. โมคคัลลานสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะอิทธิบาท 4 ประการที่ภิกษุโมคคัลลานะเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว
อิทธิบาท 4 ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุโมคคัลลานะ
1. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อน ฯลฯ
2. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
3. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
4. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่า เบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะ
อิทธิบาท 4 ประการนี้ที่ภิกษุโมคคัลลานะเจริญ ทำให้มากแล้ว อนึ่ง ภิกษุ
โมคคัลลานะแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง เพราะอิทธิบาท 4 ประการนี้ที่ภิกษุ
โมคคัลลานะเจริญ ทำให้มากแล้ว ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลก อนึ่ง
ภิกษุโมคคัลลานะย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

โมคคัลลานสูตรที่ 4 จบ

(อนึ่ง อภิญญาทั้งหลายพึงให้พิสดารอย่างนี้)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [7. อิทธิปาทสังยุต]
2. ปาสาทกัมปนวรรค 5. อุณณาภพราหมณสูตร

5. อุณณาภพราหมณสูตร
ว่าด้วยอุณณาภพราหมณ์

[827] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้น
พราหมณ์ชื่ออุณณาภะเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็น
ที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่าน
พระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อ
ต้องการอะไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “พราหมณ์ เราประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อละฉันทะ”
“ท่านอานนท์ มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละฉันทะนั้นอยู่หรือ”
“พราหมณ์ มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละฉันทะนั้นอยู่”
“ท่านอานนท์ มรรค เป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อละฉันทะนั้น เป็นอย่างไร”
“พราหมณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิ-
ปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาท
ที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิ-
ปธานสังขาร นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อละฉันทะนั้น”
“ท่านอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ฉันทะนั้นยังมีอยู่ มิใช่ไม่มี เป็นไปไม่ได้เลยที่
บุคคลจักละฉันทะด้วยฉันทะนั่นเอง”
“พราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านพึงตอบเรื่องนั้น
ตามที่ท่านพอใจเถิด
พราหมณ์ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในเบื้องต้นท่านได้มีฉันทะ (ความ
พอใจ) ว่า ‘จักไปอาราม’ เมื่อท่านไปถึงอารามแล้ว ฉันทะที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นนั้น
ก็ระงับไปหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :400 }