เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [7. อิทธิปาทสังยุต]
2. ปาสาทกัมปนวรรค 3. ฉันทสมาธิสูตร

2. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
3. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
4. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่
ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท 4 ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออิทธิบาท 4 ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มาก
แล้วอย่างนี้ ภิกษุย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้
ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออิทธิบาท 4 ประการนี้ที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้
มากแล้วอย่างนี้ ภิกษุจึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

มหัปผลสูตรที่ 2 จบ

3. ฉันทสมาธิสูตร
ว่าด้วยฉันทสมาธิ

[825] “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะแล้วได้สมาธิ ได้จิตเตกัคคตา
(สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว) นี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ
1. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :395 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [7. อิทธิปาทสังยุต]
2. ปาสาทกัมปนวรรค 3. ฉันทสมาธิสูตร

2. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
3. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
4. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ฉันทะนี้ ฉันทสมาธินี้ และปธานสังขารเหล่านี้ดังพรรณนามาฉะนี้
นี้เรียกว่า อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยวิริยะแล้วได้สมาธิ ได้จิตเตกัคคตา นี้เรียกว่า
วิริยสมาธิ
1. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
ฯลฯ
4. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
วิริยะนี้ วิริยสมาธินี้ และปธานสังขารเหล่านี้ดังพรรณนามาฉะนี้
นี้เรียกว่า อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยจิตแล้วได้สมาธิ ได้จิตเตกัคคตา นี้เรียกว่า จิตต-
สมาธิ
1. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
พื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :396 }