เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [7. อิทธิปาทสังยุต]
2. ปาสาทกัมปนวรรค 3. ฉันทสมาธิสูตร

2. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
3. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
4. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่
ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท 4 ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออิทธิบาท 4 ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มาก
แล้วอย่างนี้ ภิกษุย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้
ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออิทธิบาท 4 ประการนี้ที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้
มากแล้วอย่างนี้ ภิกษุจึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

มหัปผลสูตรที่ 2 จบ

3. ฉันทสมาธิสูตร
ว่าด้วยฉันทสมาธิ

[825] “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะแล้วได้สมาธิ ได้จิตเตกัคคตา
(สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว) นี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ
1. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :395 }