เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [4. อินทริยสังยุต]
6. สูกรขตวรรค 9. ปฐมอุปปาทสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้เจริญสัทธินทรีย์ที่ให้
ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญวิริยินทรีย์ ฯลฯ เจริญสตินทรีย์ ฯลฯ
เจริญสมาธินทรีย์ ฯลฯ เจริญปัญญินทรีย์ที่ให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมนี้ที่ภิกษุขีณาสพ
เห็นอยู่ จึงประพฤตินอบน้อมอย่างยิ่งในพระตถาคตหรือในคำสอนของพระตถาคต”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมนี้ที่ภิกษุขีณาสพ
เห็นอยู่ จึงประพฤตินอบน้อมอย่างยิ่งในตถาคตหรือในคำสอนของตถาคต
สารีบุตร การนอบน้อมอย่างยิ่งที่ภิกษุขีณาสพประพฤติในตถาคตหรือในคำสอน
ของตถาคต เป็นอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้มีความเคารพยำเกรง
ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
นี้แล คือการนอบน้อมอย่างยิ่งที่ภิกษุขีณาสพประพฤติในพระตถาคตหรือในคำสอน
ของพระตถาคต”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร การนอบน้อมอย่างยิ่งนี้ที่ภิกษุขีณาสพประพฤติใน
ตถาคตหรือในคำสอนของตถาคต”

สูกรขตสูตรที่ 8 จบ

9. ปฐมอุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งอินทรีย์ สูตรที่ 1

[529] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิด
ย่อมเกิดขึ้น เว้นความอุบัติขึ้นของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่
เกิดขึ้น
อินทรีย์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สัทธินทรีย์ 2. วิริยินทรีย์
3. สตินทรีย์ 4. สมาธินทรีย์
5. ปัญญินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :343 }