เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [4. อินทริยสังยุต]
6. สูกรขตวรรค 6. ปติฏฐิตสูตร

โพธิปักขิยธรรม อะไรบ้าง คือ
สัทธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
วิริยินทรีย์ ฯลฯ
สตินทรีย์ ฯลฯ
สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ภิกษุทั้งหลาย จันทน์แดงชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ากลิ่นหอมที่เกิดจากแก่น
เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่า
เลิศกว่าโพธิปักขิยธรรมทั้งหลายเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน”

สารสูตรที่ 5 จบ

6. ปติฏฐิตสูตร
ว่าด้วยภิกษุตั้งอยู่ในธรรมอันเป็นเอก

[526] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการ เป็นอันภิกษุผู้ตั้งอยู่ในธรรม
อันเป็นเอกเจริญ อบรมดีแล้ว
ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร
คือ ความไม่ประมาท
ความไม่ประมาท เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมรักษาจิตในธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นอาสวะและที่
เป็นไปพร้อมกับอาสวะ เมื่อเธอรักษาจิตในธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นอาสวะและที่เป็นไป
พร้อมกับอาสวะ สัทธินทรีย์ก็ดี วิริยินทรีย์ก็ดี สตินทรีย์ก็ดี สมาธินทรีย์ก็ดี ปัญญินทรีย์ก็ดี
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการเป็นอันภิกษุผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันเป็นเอก
เจริญ อบรมดีแล้ว แม้อย่างนี้แล”

ปติฏฐิตสูตรที่ 6 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [4. อินทริยสังยุต]
6. สูกรขตวรรค 7. สหัมปติพรหมสูตร

7. สหัมปติพรหมสูตร
ว่าด้วยท้าวสหัมบดีพรหม

[527] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ใต้ต้นอชปาลนิโครธ ริมฝั่ง
แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความรำพึงขึ้นว่า
“อินทรีย์ 5 ประการที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
เป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
อินทรีย์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
2. วิริยินทรีย์ ฯลฯ
3. สตินทรีย์ ฯลฯ
4. สมาธินทรีย์ ฯลฯ
5. ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
อินทรีย์ 5 ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มี
อมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบความรำพึงของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึง
หายตัวจากพรหมโลกมาปรากฏตรงพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค เปรียบเหมือน
บุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนม
อัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคแล้วกราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็น
อย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น อินทรีย์ 5 ประการที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
อินทรีย์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :341 }