เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [1. มัคคสังยุต]
4. ปฏิปัตติวรรค 5. ปฐมสามัญญสูตร

บัณฑิตละธรรมดำ1แล้วพึงเจริญธรรมขาว2
ออกจากที่มีน้ำ มาสู่ที่ไม่มีน้ำ3
ละกามทั้งหลายแล้วเป็นผู้หมดความกังวล
พึงปรารถนาความยินดียิ่งในวิเวก4ที่ยินดีได้ยากยิ่ง
บัณฑิตพึงชำระตนให้ผ่องแผ้ว
จากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย
บัณฑิตเหล่าใดอบรมจิตโดยชอบ
ในองค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้งหลาย
ไม่ถือมั่น ยินดีในนิพพานเป็นที่สละความถือมั่น
บัณฑิตเหล่านั้นสิ้นอาสวะแล้ว
มีความรุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก”5

ปารังคมสูตรที่ 4 จบ

5. ปฐมสามัญญสูตร
ว่าด้วยความเป็นสมณะ สูตรที่ 1

[35] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสามัญญะ (ความเป็นสมณะ) และสามัญญผล (ผล
แห่งความเป็นสมณะ) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [1. มัคคสังยุต]
4. ปฏิปัตติวรรค 6. ทุติยสามัญญสูตร

สามัญญะ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้แล ได้แก่
1. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ 8. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า สามัญญะ
สามัญญผล เป็นอย่างไร
คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล
เหล่านี้เรียกว่า สามัญญผล”

ปฐมสามัญญสูตรที่ 5 จบ

6. ทุติยสามัญญสูตร
ว่าด้วยความเป็นสมณะ สูตรที่ 2

[36] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสามัญญะและประโยชน์แห่งสามัญญะ1แก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
สามัญญะ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้แล ได้แก่
1. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ 8. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า สามัญญะ
ประโยชน์แห่งสามัญญะ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ โทสะ และโมหะ
นี้เรียกว่า ประโยชน์แห่งสามัญญะ”

ทุติยสามัญญสูตรที่ 6 จบ