เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [4. อินทริยสังยุต]
6. สูกรขตวรรค 3. เสขสูตร

อินทรีย์ 5 ประการซึ่งมีคติ มีความเป็นเลิศ มีผล และมีที่สุด เธอยังไม่ถูก
ต้องด้วยนามกาย แต่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา
เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็นพระเสขะ’
เป็นอย่างนี้แล
เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในอเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็น
พระอเสขะ‘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุผู้เป็นอเสขะในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้ชัดอินทรีย์ 5 ประการ คือ
1. สัทธินทรีย์ 2. วิริยินทรีย์
3. สตินทรีย์ 4. สมาธินทรีย์
5. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ 5 ประการซึ่งมีคติ มีความเป็นเลิศ มีผล และมีที่สุด เธอยังไม่ถูก
ต้องด้วยนามกาย แต่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา
เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในอเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็น
พระอเสขะ’ เป็นอย่างนี้แล
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นอเสขะย่อมรู้ชัดอินทรีย์ 6 ประการ คือ
1. จักขุนทรีย์ 2. โสตินทรีย์
3. ฆานินทรีย์ 4. ชิวหินทรีย์
5. กายินทรีย์ 6. มนินทรีย์
เธอรู้ชัดว่า ‘อินทรีย์ 6 ประการนี้จักดับทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมดทุกอย่างไม่
เหลือโดยประการทั้งปวง และอินทรีย์ 6 ประการอื่นก็จักไม่เกิดในภพไหน ๆ’
เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในอเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็นพระอเสขะ’
เป็นอย่างนี้แล”

เสขสูตรที่ 3 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [4. อินทริยสังยุต]
6. สูกรขตวรรค 5. สารสูตร

4. ปทสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยรอยเท้าสัตว์

[524] “ภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ที่เที่ยวไปบนแผ่นดินทั้งหมดรวมลง
ในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็น
รอยใหญ่ แม้ฉันใด บทแห่งธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าบทแห่งธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
บทแห่งธรรมที่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ อะไรบ้าง คือ
สัทธินทรีย์เป็นบทแห่งธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
วิริยินทรีย์เป็นบทแห่งธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
สตินทรีย์เป็นบทแห่งธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
สมาธินทรีย์เป็นบทแห่งธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ปัญญินทรีย์เป็นบทแห่งธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ที่เที่ยวไปบนแผ่นดินทั้งหมดรวมลงในรอยเท้าช้าง
รอยเท้าช้างชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่ แม้ฉันใด
บทแห่งธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าว
ว่าเลิศกว่าบทแห่งธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”

ปทสูตรที่ 4 จบ

5. สารสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแก่นไม้

[525] “ภิกษุทั้งหลาย กลิ่นหอมที่เกิดจากแก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง จันทน์แดง
ชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ากลิ่นหอมที่เกิดจากแก่นเหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรม
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น
เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :339 }