เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [4. อินทริยสังยุต]
5. ชราวรรค 10. อาปณสูตร

อะไรมีความสิ้นไปเป็นที่สุด
คือ ชาติ ชรา และมรณะมีความสิ้นไปเป็นที่สุด
ภิกษุปิณโฑลภารทวาชะพิจารณาเห็นว่า ‘ชาติ ชรา และมรณะสิ้นไป’ จึง
พยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่
ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ปิณโฑลภารทวาชสูตรที่ 9 จบ

10. อาปณสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่อาปณนิคม

[520] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวอังคะชื่ออาปณะ แคว้น
อังคะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระสารีบุตรมาตรัสว่า “สารีบุตร
อริยสาวกใดมีศรัทธามั่นคง เลื่อมใสยิ่งในตถาคต อริยสาวกนั้นไม่พึงสงสัยหรือ
เคลือบแคลงในตถาคตหรือในคำสอนของตถาคต”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอริยสาวกใดมี
ศรัทธามั่นคง เลื่อมใสอย่างยิ่งในพระตถาคต พระอริยสาวกนั้นไม่พึงสงสัยหรือ
เคลือบแคลงในพระตถาคตหรือในคำสอนของพระตถาคต
อนึ่ง พระอริยสาวกผู้มีศรัทธาพึงหวังได้ว่าจักเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละ
อกุศลธรรม เข้าถึงกุศลธรรม มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระ
ในกุศลธรรมอยู่ ก็วิริยะของพระอริยสาวกนั้นพึงจัดเป็นวิริยินทรีย์
อนึ่ง พระอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร พึงหวังได้ว่าจักเป็นผู้มีสติ
ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึงสิ่งที่ทำ คำที่ได้พูด
ไว้นานบ้าง ก็สติของพระอริยสาวกนั้นพึงจัดเป็นสตินทรีย์
อนึ่ง พระอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร มีสติมั่นคง พึงหวังได้ว่า
จักทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต ก็สมาธิของพระอริยสาวก
นั้นพึงจัดเป็นสมาธินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :332 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [4. อินทริยสังยุต]
5. ชราวรรค 10. อาปณสูตร

อนึ่ง พระอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร มีสติมั่นคง มีจิตตั้งมั่น
พึงหวังได้ว่า จักรู้ชัดว่า ‘สงสารมีที่สุดและเบื้องต้นกำหนดรู้ไม่ได้ เบื้องต้นและ
ที่สุดไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาปิดกั้น มีตัณหาผูกไว้ แล่นไป ท่องเที่ยวไป
ส่วนความดับกองแห่งความมืดคืออวิชชาไม่ให้เหลือด้วยวิราคะ นี้เป็นทางอันสงบ
นี้เป็นทางอันประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความ
สิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน’ ก็ปัญญาของพระอริยสาวกนั้น
พึงจัดเป็นปัญญินทรีย์
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอริยสาวกผู้มีศรัทธานั้นพยายามอย่างนี้ ครั้น
พยายามแล้วระลึกอย่างนี้ ครั้นระลึกแล้วตั้งมั่นอย่างนี้ ครั้นตั้งมั่นแล้วรู้ชัดอย่างนี้
ครั้นรู้ชัดแล้วย่อมเชื่อมั่นอย่างนี้ว่า ‘นี้แลคือธรรมที่เราได้ฟังมาก่อน บัดนี้เราถูก
ต้องด้วยนามกายนั้นอยู่และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา’ ก็ศรัทธาของพระอริย-
สาวกนั้นพึงจัดเป็นสัทธินทรีย์”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร อริยสาวกใดมีศรัทธามั่นคง เลื่อมใสอย่างยิ่งในตถาคต
อริยสาวกนั้นไม่พึงสงสัยหรือเคลือบแคลงในตถาคตหรือในคำสอนของตถาคต ด้วยว่า
อริยสาวกผู้มีศรัทธาพึงหวังได้ว่า จักเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม
เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศล-
ธรรมทั้งหลายอยู่ ก็วิริยะของอริยสาวกนั้นพึงจัดเป็นวิริยินทรีย์
อนึ่ง อริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร พึงหวังได้ว่า จักเป็นผู้มีสติ
ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึงสิ่งที่ทำ คำที่ได้พูด
ไว้นานบ้าง ก็สติของอริยสาวกนั้นพึงจัดเป็นสตินทรีย์
อนึ่ง อริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร มีสติมั่นคง พึงหวังได้ว่า
จักยึดนิพพานให้เป็นอารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต ก็สมาธิของอริยสาวกนั้น
พึงจัดเป็นสมาธินทรีย์
อนึ่ง อริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร มีสติมั่นคง มีจิตตั้งมั่น พึง
หวังได้ว่า จักรู้ชัดว่า ‘สงสารมีที่สุดและเบื้องต้นกำหนดรู้ไม่ได้ เบื้องต้นและที่สุด
ไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาปิดกั้น มีตัณหาผูกไว้ แล่นไป ท่องเที่ยวไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :333 }