เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [4. อินทริยสังยุต]
5. ชราวรรค 4. ปุพพโกฏฐกสูตร

เหตุที่จะให้นับว่าแม่น้ำนั้นมีกระแสเดียว เป็นอย่างไร
คือ น้ำที่อยู่สุดทิศตะวันออกและสุดทิศตะวันตกของเกาะนั้น
นี้แล คือเหตุที่ให้นับว่าแม่น้ำนั้นมีกระแสเดียว
เหตุที่จะให้นับว่าแม่น้ำนั้นมี 2 กระแส เป็นอย่างไร
คือ น้ำที่อยู่สุดทิศเหนือและสุดทิศใต้ของเกาะนั้น
นี้แล คือเหตุที่ให้นับว่าแม่น้ำนั้นมี 2 กระแส แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธา-
พละ สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็น
วิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็น
สติพละ สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์ สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้น
เป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์
สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์
ภิกษุทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลาย
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เพราะอินทรีย์ 5 ประการที่ภิกษุนั้น
เจริญ ทำให้มากแล้ว”

สาเกตสูตรที่ 3 จบ

4. ปุพพโกฏฐกสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ปุพพโกฏฐกะ

[514] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปุพพโกฏฐกะ เขตกรุงสาวัตถี ณ
ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระสารีบุตรมาตรัสว่า
“สารีบุตร เธอเชื่อหรือไม่ว่า สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ปัญญินทรีย์
ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
มีอมตะเป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :326 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [4. อินทริยสังยุต]
5. ชราวรรค 5. ปฐมปุพพารามสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ชนเหล่าใดไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เข้าใจ มิได้ทำให้แจ้ง
มิได้สัมผัสด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นพึงถึงความเชื่อต่อผู้อื่นในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์
ฯลฯ ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น
เบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ชนเหล่าใดรู้ เห็น เข้าใจ
ทำให้แจ้ง สัมผัสด้วยปัญญาแล้ว ชนเหล่านั้นย่อมไม่มีความสงสัย ไม่มีความ
แคลงใจในข้อนั้นเลยว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็ข้อนั้นข้าพระองค์
รู้ เห็น เข้าใจ ทำให้แจ้ง สัมผัสด้วยปัญญาแล้ว ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัย
ไม่มีความแคลงใจในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้
มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร ข้อนี้ชนเหล่าใดไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เข้าใจ มิได้ทำให้แจ้ง
มิได้สัมผัสด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นพึงดำเนินไปด้วยความเชื่อต่อผู้อื่นในข้อนั้นว่า
สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า
มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่
อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ข้อนี้ชนเหล่าใดรู้ เห็น เข้าใจ
ทำให้แจ้ง ได้สัมผัสด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นหมดความระแวงสงสัยในข้อนั้นว่า
สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า
มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด”

ปุพพโกฏฐกสูตรที่ 4 จบ

5. ปฐมปุพพารามสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่บุพพาราม สูตรที่ 1

[515] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา
ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :327 }