เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [4. อินทริยสังยุต]
4. สุขินทริยวรรค 8. ตติยวิภังคสูตร

สุขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความสุขทางกาย ความสำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส
นี้เรียกว่า สุขินทรีย์
ทุกขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความทุกข์ทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์
ไม่สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส
นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์
โสมนัสสินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความสุขทางใจ ความสำราญทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข สำราญ
อันเกิดจากมโนสัมผัส
นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์
โทมนัสสินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความทุกข์ทางใจ ความไม่สำราญทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์
ไม่สำราญ อันเกิดจากมโนสัมผัส
นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์
อุเปกขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความเสวยอารมณ์ทางกายหรือทางใจที่สำราญก็มิใช่ ไม่สำราญก็มิใช่
นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์
ในอินทรีย์ 5 ประการนั้น สุขินทรีย์และโสมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นสุขเวทนา
ทุกขินทรีย์และโทมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นทุกขเวทนา
อุเปกขินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นอทุกขมสุขเวทนา
อินทรีย์ 5 ประการนี้ เป็น 5 ประการแล้วย่อเป็น 3 ประการ เป็น 3 ประการ
แล้วขยายออกเป็น 5 ประการโดยปริยาย ด้วยประการฉะนี้”

ตติยวิภังคสูตรที่ 8 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [4. อินทริยสังยุต]
4. สุขินทริยวรรค 9. กัฏโฐปมสูตร

9. กัฏโฐปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยไม้เสียดสีกัน

[509] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้
อินทรีย์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สุขินทรีย์ 2. ทุกขินทรีย์
3. โสมนัสสินทรีย์ 4. โทมนัสสินทรีย์
5. อุเปกขินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย สุขินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา
ภิกษุนั้นมีสุขก็รู้ชัดว่า เรามีสุข เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป
เธอก็รู้ชัดว่า สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาที่เสวยอยู่
อันเกิดจากผัสสะนั้นดับไป คือสงบไป
ทุกขินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ภิกษุนั้นมี
ทุกข์ก็รู้ชัดว่า เรามีทุกข์ เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป เธอ
ก็รู้ชัดว่า ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนาที่เสวยอยู่
อันเกิดจากผัสสะนั้นดับไป คือสงบไป
โสมนัสสินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสสเวทนา ภิกษุ
นั้นสบายใจก็รู้ชัดว่า เราสบายใจ เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสสเวทนานั้นแล
ดับไป เธอก็รู้ชัดว่า โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
โสมนัสสเวทนาที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นดับไป คือสงบไป
โทมนัสสินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนา ภิกษุ
นั้นไม่สบายใจก็รู้ชัดว่า เราไม่สบายใจ เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนา
นั้นแลดับไป เธอก็รู้ชัดว่า โทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้ง
แห่งโทมนัสสเวทนาที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นดับไป คือสงบไป
อุเปกขินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนา ภิกษุนั้น
วางเฉยก็รู้ชัดว่า เราวางเฉย เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนานั้นแลดับไป
เธอก็รู้ชัดว่า อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนา
ที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นดับไป คือสงบไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :317 }