เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [4. อินทริยสังยุต]
4. สุขินทริยวรรค 6. ปฐมวิภังคสูตร

รู้ชัดอุเปกขินทรีย์ ความเกิดแห่งอุเปกขินทรีย์ ความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ และ
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราจัดว่า
เป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้น
ก็ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะและประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ทุติยสมณพราหมณสูตรที่ 5 จบ

6. ปฐมวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ สูตรที่ 1

[506] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้
อินทรีย์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สุขินทรีย์ 2. ทุกขินทรีย์
3. โสมนัสสินทรีย์ 4. โทมนัสสินทรีย์
5. อุเปกขินทรีย์
สุขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความสุขทางกาย ความสำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส
นี้เรียกว่า สุขินทรีย์
ทุกขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความทุกข์ทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
ทุกข์ ไม่สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส
นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์
โสมนัสสินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความสุขทางใจ ความสำราญทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข สำราญ
อันเกิดจากมโนสัมผัส
นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :313 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [4. อินทริยสังยุต]
4. สุขินทริยวรรค 7. ทุติยวิภังคสูตร

โทมนัสสินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความทุกข์ทางใจ ความไม่สำราญทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์
ไม่สำราญ อันเกิดจากมโนสัมผัส
นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์
อุเปกขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความเสวยอารมณ์ทางกายหรือทางใจที่สำราญก็มิใช่ ไม่สำราญก็มิใช่
นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้แล”

ปฐมวิภังคสูตรที่ 6 จบ

7. ทุติยวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ สูตรที่ 2

[507] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้
อินทรีย์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สุขินทรีย์ 2. ทุกขินทรีย์
3. โสมนัสสินทรีย์ 4. โทมนัสสินทรีย์
5. อุเปกขินทรีย์
สุขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความสุขทางกาย ความสำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส
นี้เรียกว่า สุขินทรีย์
ทุกขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความทุกข์ทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
ทุกข์ ไม่สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส
นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :314 }