เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [4. อินทริยสังยุต]
4. สุขินทริยวรรค 2. โสตาปันนสูตร

4. สุขินทริยวรรค
หมวดว่าด้วยสุขินทรีย์
1. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ล้วน

[501] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้
อินทรีย์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สุขินทรีย์ (อินทรีย์คือสุขเวทนา)
2. ทุกขินทรีย์ (อินทรีย์คือทุกขเวทนา)
3. โสมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือโสมนัสสเวทนา)
4. โทมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือโทมนัสสเวทนา)
5. อุเปกขินทรีย์ (อินทรีย์คืออุเบกขา)
อินทรีย์ 5 ประการนี้แล”

สุทธิกสูตรที่ 1 จบ

2. โสตาปันนสูตร
ว่าด้วยพระโสดาบัน

[502] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้
อินทรีย์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สุขินทรีย์ 2. ทุกขินทรีย์
3. โสมนัสสินทรีย์ 4. โทมนัสสินทรีย์
5. อุเปกขินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่อง
สลัดออกจากอินทรีย์ 5 ประการนี้ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น อริยสาวกนี้เรากล่าวว่า
‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

โสตาปันนสูตรที่ 2 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [4. อินทริยสังยุต]
4. สุขินทริยวรรค 4. ปฐมสมณพราหมณสูตร

3. อรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันต์

[503] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้
อินทรีย์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สุขินทรีย์ 2. ทุกขินทรีย์
3. โสมนัสสินทรีย์ 4. โทมนัสสินทรีย์
5. อุเปกขินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่อง
สลัดออกจากอินทรีย์ 5 ประการนี้ตามความเป็นจริง เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่
ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์
แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ”

อรหันตสูตรที่ 3 จบ

4. ปฐมสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ 1

[504] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้
อินทรีย์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สุขินทรีย์ 2. ทุกขินทรีย์
3. โสมนัสสินทรีย์ 4. โทมนัสสินทรีย์
5. อุเปกขินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ 5 ประการนี้ตามความเป็นจริง สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นเราไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็น
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็น
สมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :311 }