เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [4. อินทริยสังยุต]
2. มุทุตรวรรค 8. ปฏิปันนสูตร

บุคคลผู้บำเพ็ญอรหัตตมรรคให้บริบูรณ์ ย่อมได้บรรลุอรหัตตผล บุคคลผู้
บำเพ็ญมรรคทั้ง 3 (ที่เหลือให้บริบูรณ์) ย่อมได้บรรลุผลทั้ง 3 ดังกล่าวนี้
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวอินทรีย์ 5 ประการว่าไม่เป็นหมันเลย”

ตติยวิตถารสูตรที่ 7 จบ

8. ปฏิปันนสูตร
ว่าด้วยผลแห่งการปฏิบัติตามลำดับอินทรีย์

[488] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้
อินทรีย์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สัทธินทรีย์ ฯลฯ 5. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ 5 ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล
1. เป็นพระอรหันต์เพราะมีอินทรีย์ 5 ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์
2. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อรหันต์นั้น
3. เป็นพระอนาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง
อรหัตตผลนั้น
4. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีนั้น
5. เป็นพระสกทาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง
อนาคามิผลนั้น
6. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
สกทาคามีนั้น
7. เป็นพระโสดาบันเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง
สกทาคามิผลนั้น
8. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
โสดาบันนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :299 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [4. อินทริยสังยุต]
2. มุทุตรวรรค 10. อาสวักขยสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดไม่มีอินทรีย์ 5 ประการนี้โดยประการทั้งปวง ผู้นั้นเรา
กล่าวว่า ‘เป็นผู้เหินห่าง อยู่ในฝ่ายปุถุชน”

ปฏิปันนสูตรที่ 8 จบ

9. สัมปันนสูตร
ว่าด้วยผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์

[489] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘ผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์ ผู้สมบูรณ์
ด้วยอินทรีย์’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัทธินทรีย์ให้ถึงความ
สงบ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญวิริยินทรีย์ที่ให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญ
สตินทรีย์ที่ให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญสมาธินทรีย์ที่ให้ถึงความสงบ
ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญปัญญินทรีย์ที่ให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้ ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์”

สัมปันนสูตรที่ 9 จบ

10. อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้สิ้นอาสวะ

[490] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้
อินทรีย์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สัทธินทรีย์ ฯลฯ 5. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ 5 ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :300 }