เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [4. อินทริยสังยุต]
1. สุทธิกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

สมาธินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตา-
จิต เธอสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร มี
ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมี
ความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ
สุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว
เธอบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้น
ทุกข์โดยชอบ เธอรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้”

ทุติยวิภังคสูตรที่ 10 จบ
สุทธิกวรรคที่ 1 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. สุทธิกสูตร 2. ปฐมโสตาปันนสูตร
3. ทุติยโสตาปันนสูตร 4. ปฐมอรหันตสูตร
5. ทุติยอรหันตสูตร 6. ปฐมสมณพราหมณสูตร
7. ทุติยสมณพราหมณสูตร 8. ทัฏฐัพพสูตร
9. ปฐมวิภังคสูตร 10. ทุติยวิภังคสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [4. อินทริยสังยุต]
2. มุทุตรวรรค 1. ปฏิลาภสูตร

2. มุทุตรวรรค
หมวดว่าด้วยอินทรีย์ที่อ่อนกว่า
1. ปฏิลาภสูตร
ว่าด้วยการได้อินทรีย์

[481] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้
อินทรีย์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สัทธินทรีย์ ฯลฯ 5. ปัญญินทรีย์
สัทธินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของตถาคต
ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์
เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถี
ฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น
พระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกปรารภสัมมัปปธาน 4 ประการ ย่อมได้ความเพียร
นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกปรารภสติปัฏฐาน 4 ประการ ย่อมได้สติ
นี้เรียกว่า สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้
เอกัคคตาจิต
นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :292 }