เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [4. อินทริยสังยุต]
1. สุทธิกวรรค 10. ทุติยวิภังคสูตร

สตินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่อง
รักษาตน1อย่างยิ่ง ระลึกนึกถึงสิ่งที่ทำ คำที่ได้พูดไว้นานบ้าง
นี้เรียกว่า สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้
เอกัคคตาจิต
นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้น
ทุกข์โดยชอบ
นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้”

ปฐมวิภังคสูตรที่ 9 จบ

10. ทุติยวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ สูตรที่ 2

[480] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้
อินทรีย์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สัทธินทรีย์ ฯลฯ 5. ปัญญินทรีย์
สัทธินทรีย์ เป็นอย่างไร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [4. อินทริยสังยุต]
1. สุทธิกวรรค 10. ทุติยวิภังคสูตร

คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์
เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้
ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค’
นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม
เข้าถึงกุศลธรรม มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละ
บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำ
กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความ
ดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่อง
รักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึงสิ่งที่ทำ คำที่ได้พูดไว้นานบ้าง
เธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ พิจารณา
เห็นจิตในจิต ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มี
สติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
นี้เรียกว่า สตินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :290 }