เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [4. อินทริยสังยุต]
1. สุทธิกวรรค 7. ทุติยสมณพราหมณสูตร

ถือมั่น เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้น
ภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ”

ทุติยอรหันตสูตรที่ 5 จบ

6. ปฐมสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ 1

[476] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้
อินทรีย์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สัทธินทรีย์ 2. วิริยินทรีย์
3. สตินทรีย์ 4. สมาธินทรีย์
5. ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดความเกิด ความ
ดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ 5 ประการนี้ตามความเป็นจริง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็น
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็น
สมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดความเกิด ความ
ดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ 5 ประการนี้ตามความเป็นจริง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราจัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็น
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็น
สมณะและประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ปฐมสมณพราหมณสูตรที่ 6 จบ

7. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ 2

[477] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดสัทธินทรีย์
ความเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งสัทธินทรีย์ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :285 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [4. อินทริยสังยุต]
1. สุทธิกวรรค 9. ปฐมวิภังคสูตร

แห่งสัทธินทรีย์ ไม่รู้ชัดวิริยินทรีย์ ฯลฯ ไม่รู้ชัดสตินทรีย์ ฯลฯ ไม่รู้ชัดสมาธินทรีย์
ฯลฯ ไม่รู้ชัดปัญญินทรีย์ ความเกิดแห่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่งปัญญินทรีย์
และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งปัญญินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราไม่
จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่าน
เหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็น
พราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดสัทธินทรีย์
ความเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งสัทธินทรีย์ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ
แห่งสัทธินทรีย์ รู้ชัดวิริยินทรีย์ ความเกิดแห่งวิริยินทรีย์ ความดับแห่งวิริยินทรีย์
และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิริยินทรีย์ รู้ชัดสตินทรีย์ ฯลฯ รู้ชัดสมาธินทรีย์
ฯลฯ รู้ชัดปัญญินทรีย์ ความเกิดแห่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่งปัญญินทรีย์ และ
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งปัญญินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราจัดว่า
เป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้น
ก็ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะและประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ทุติยสมณพราหมณสูตรที่ 7 จบ

8. ทัฏฐัพพสูตร
ว่าด้วยการเห็นอินทรีย์ในธรรมต่าง ๆ

[478] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้
อินทรีย์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สัทธินทรีย์ ฯลฯ 5. ปัญญินทรีย์
พึงเห็นสัทธินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในองค์เครื่องบรรลุโสดา 4 ประการ พึงเห็นสัทธินทรีย์ได้ในที่นี้
พึงเห็นวิริยินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในสัมมัปปธาน 4 ประการ พึงเห็นวิริยินทรีย์ได้ในที่นี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :286 }