เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [3. สติปัฏฐานสังยุต]
5. อมตวรรค 6. ปาติโมกขสังวรสูตร

2. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
3. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
4. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงกองกุศล จะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าว
ถึงสติปัฏฐาน 4 ประการนี้ เพราะกองกุศลทั้งสิ้นนี้ก็คือสติปัฏฐาน 4 ประการ”

กุสลราสิสูตรที่ 5 จบ

6. ปาติโมกขสังวรสูตร
ว่าด้วยปาติโมกขสังวร

[412] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่ง
ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ เพราะเหตุนั้น เธอจงทำเบื้องต้นในกุศลธรรม
ทั้งหลายให้หมดจดก่อน
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
คือ ในธรรมวินัยนี้ เธอจงสำรวมด้วยสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อม
ด้วยอาจาระ(มารยาท) และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด เมื่อใด เธอจักสำรวมด้วยสังวรในพระ
ปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เมื่อนั้น เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว พึง
เจริญสติปัฏฐาน 4 ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :269 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [3. สติปัฏฐานสังยุต]
5. อมตวรรค 7. ทุจจริตสูตร

สติปัฏฐาน 4 ประการ อะไรบ้าง
คือ ในธรรมวินัยนี้ เธอ
1. จงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
2. จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
3. จงพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
4. จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุ เมื่อใด เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้วจักเจริญสติปัฏฐาน 4 ประการ
นี้อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายตลอดคืนและวันที่จัก
มาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย”
ลำดับนั้น ภิกษุรูปนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจาก
อาสนะ ถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วจากไป ต่อมา เธอก็หลีกออกไปอยู่คนเดียว
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์
ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
โดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”
อนึ่ง ภิกษุรูปนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

ปาติโมกขสังวรสูตรที่ 6 จบ

7. ทุจจริตสูตร
ว่าด้วยการละทุจริต

[413] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอ
พระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะ
พึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :270 }