เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [3. สติปัฏฐานสังยุต]
5. อมตวรรค 3. มัคคสูตร

ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบความรำพึงของเราแล้ว จึงหายตัวจาก
พรหมโลกมาปรากฏตรงหน้าเรา เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออก หรือคู้
แขนเข้าฉะนั้น ครั้นแล้วท้าวเธอห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือมาทางเราแล้ว
กล่าวว่า ‘ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เรื่องนี้เป็น
อย่างนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทางนี้เป็นทางเดียวเพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้ง
หลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน 4 ประการ
สติปัฏฐาน 4 ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุ
1. พึงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
2. พึงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
3. พึงพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
4. พึงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทางนี้เป็นทางเดียว เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์
ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน 4 ประการ’
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหมได้กราบทูลคำนี้แล้วจึงได้กล่าวคาถาประพันธ์
ต่อไปอีกว่า
“พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเห็นธรรม
อันเป็นส่วนที่สุดสิ้นแห่งชาติ
ทรงอนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูล
ทรงรู้จักทางอันเป็นทางเดียว
ซึ่งเหล่าบัณฑิตได้ข้ามมาก่อนแล้ว
จักข้าม และกำลังข้ามโอฆะได้ด้วยทางนี้”

มัคคสูตรที่ 3 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [3. สติปัฏฐานสังยุต]
5. อมตวรรค 5. กุสลราสิสูตร

4. สติสูตร
ว่าด้วยผู้มีสติ

[410] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติอยู่เถิด นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราสำหรับเธอ
ทั้งหลาย
ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
2. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
3. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
4. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุพึงมีสติอยู่เถิด นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย”

สติสูตรที่ 4 จบ

5. กุสลราสิสูตร
ว่าด้วยกองกุศล

[411] “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงกองกุศล จะกล่าวให้ถูกต้อง
พึงกล่าวถึงสติปัฏฐาน 4 ประการ เพราะกองกุศลทั้งสิ้นนี้ก็คือสติปัฏฐาน 4 ประการ
สติปัฏฐาน 4 ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :268 }