เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [3. สติปัฏฐานสังยุต]
2. นาลันทวรรค 9. เสทกสูตร

สติปัฏฐาน 4 ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุ
1. พึงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
2. พึงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
3. พึงพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
4. พึงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทางนี้เป็นทางเดียว เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์
ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน 4 ประการ”
ท้าวสหัมบดีพรหมได้กราบทูลคำนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเห็นธรรม
อันเป็นส่วนที่สุดสิ้นแห่งชาติ
ทรงอนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูล
ทรงรู้จักทางอันเป็นทางเดียว
ซึ่งเหล่าบัณฑิตได้ข้ามมาก่อนแล้ว
จักข้าม และกำลังข้ามโอฆะได้ด้วยทางนี้”

พรหมสูตรที่ 8 จบ

9. เสทกสูตร
ว่าด้วยธรรมเทศนาที่เสทกนิคม

[385] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวสุมภะชื่อ
เสทกะ แคว้นสุมภะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัส
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว คนจัณฑาลผู้เป็นนักไต่ราว ยกไม้ไผ่ขึ้นตั้งไว้
แล้วเรียกศิษย์ชื่อเมทกถาลิกะมาบอกว่า ‘เมทกถาลิกะผู้สหาย เธอจงขึ้นราวไม้ไผ่
แล้วยืนบนคอของเราเถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :241 }