เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [3. สติปัฏฐานสังยุต]
2. นาลันทวรรค 6. อุตติยสูตร

วโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์
ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
อยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุตติยะ เพราะเหตุนั้น เธอจงทำเบื้องต้นในกุศลธรรม
ทั้งหลายให้หมดจดก่อน
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดีและความเห็นที่ตรง
อุตติยะ เมื่อใด ศีลของเธอจักบริสุทธิ์ดีและความเห็นจักตรง เมื่อนั้น เธอ
อาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว พึงเจริญสติปัฏฐาน 4 ประการ
สติปัฏฐาน 4 ประการ อะไรบ้าง
คือ ในธรรมวินัยนี้ เธอ
1. จงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
2. จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
3. จงพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
4. จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
อุตติยะ เมื่อใด เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว จักเจริญสติปัฏฐาน 4
ประการนี้อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอจักถึงจุดจบแห่งความตาย1
ลำดับนั้น ท่านพระอุตติยะชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุก
จากอาสนะ ถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วจากไป ต่อมา ท่านพระอุตติยะก็หลีก
ออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักได้
ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจาก


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [3. สติปัฏฐานสังยุต]
2. นาลันทวรรค 7. อริยสูตร

เรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ท่านพระอุตติยะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

อุตติยสูตรที่ 6 จบ

7. อริยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นอริยะ

[383] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 ประการนี้ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว เป็นอริยะ เป็นนิยยานิกธรรม นำออกไปเพื่อให้สิ้นทุกข์โดยชอบ
แก่ผู้บำเพ็ญสติปัฏฐาน 4 ประการนั้น
สติปัฏฐาน 4 ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
2. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
3. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
4. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็น
อริยะ เป็นนิยยานิกธรรม นำออกไปเพื่อให้สิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้บำเพ็ญสติปัฏฐาน 4
ประการนั้น”

อริยสูตรที่ 7 จบ