เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [3. สติปัฏฐานสังยุต]
1. อัมพปาลิวรรค 10. ภิกขุนูปัสสยสูตร

เราจะคุมจิตไว้’ เธอคุมจิตไว้ ไม่ตรึก และไม่ตรอง ย่อมรู้ชัดว่า
‘เราไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีสติในภายใน มีความสุข’
อานนท์ ภาวนาย่อมมีเพราะการตั้งจิตไว้ อย่างนี้
ภาวนาย่อมมีเพราะไม่ตั้งจิตไว้ อย่างไร
คือ ภิกษุไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่ได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก’
ลำดับนั้น เธอรู้ชัดว่า ‘จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไปข้างหลัง1หรือข้างหน้า2 หลุดพ้นแล้ว
ไม่ตั้งอยู่’ ต่อมาก็รู้ชัดว่า ‘เราพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ มีความสุข’
ภิกษุไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่ได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก’ ลำดับนั้น
เธอรู้ชัดว่า ‘จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไปข้างหลังหรือข้างหน้า หลุดพ้นแล้ว ไม่ตั้งอยู่’
ต่อมาก็รู้ชัดว่า ‘เราพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ มีความสุข”
ภิกษุไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่ได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก’ ลำดับนั้น
เธอรู้ชัดว่า ‘จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไปข้างหลังหรือข้างหน้า หลุดพ้นแล้ว ไม่ตั้งอยู่’
ต่อมาก็รู้ชัดว่า ‘เราพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
มีความสุข’
ภิกษุไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่ได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก’ ลำดับนั้น
เธอรู้ชัดว่า ‘จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไปข้างหลังหรือข้างหน้า หลุดพ้นแล้ว ไม่ตั้งอยู่’
ต่อมาก็รู้ชัดว่า ‘เราพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ มีความสุข’
อานนท์ ภาวนาย่อมมีเพราะไม่ตั้งจิตไว้ อย่างนี้
อานนท์ ภาวนาเพราะการตั้งจิตไว้เราได้แสดงแล้ว ภาวนาเพราะการไม่ตั้งจิตไว้
เราก็ได้แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [3. สติปัฏฐานสังยุต]
2. นาลันทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

อานนท์ กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลผู้อนุเคราะห์พึงอาศัย
ความอนุเคราะห์กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย
อานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้
มีความร้อนใจในภายหลัง นี้คือคำพร่ำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดี ชื่นชม
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

ภิกขุนูปัสสยสูตรที่ 10 จบ
อัมพปาลิวรรคที่ 1 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อัมพปาลิสูตร 2. สติสูตร
3. ภิกขุสูตร 4. สาลสูตร
5. อกุสลราสิสูตร 6. สกุณัคฆิสูตร
7. มักกฏสูตร 8. สูทสูตร
9. คิลานสูตร 10. ภิกขุนูปัสสยสูตร