เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [3. สติปัฏฐานสังยุต]
1. อัมพปาลิวรรค 10. ภิกขุนูปัสสยสูตร

สติปัฏฐาน 4 ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายใน
กายอยู่ ความเร่าร้อนในกายที่มีกายเป็นอารมณ์เกิดขึ้น
บ้าง จิตหดหู่บ้าง จิตฟุ้งซ่านไปภายนอกบ้าง ภิกษุนั้นพึงตั้งจิต
ไว้ที่นิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อ
เธอตั้งจิตไว้ที่นิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่ง
ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ
กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้ง
มั่น เธอพิจารณาเห็นว่า ‘เราตั้งจิตไว้เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์
นั้นสำเร็จแล้วแก่เรา เอาเถิด บัดนี้เราจะคุมจิตไว้’ เธอคุมจิตไว้
ไม่ตรึก และไม่ตรอง ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มี
สติในภายใน มีความสุข’
2. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ...
3. พิจารณาเห็นจิตในจิต ...
4. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ความเร่าร้อนในกายที่มี
ธรรมเป็นอารมณ์เกิดขึ้นบ้าง จิตหดหู่บ้าง จิตฟุ้งซ่านไปภายนอก
บ้าง ภิกษุนั้นพึงตั้งจิตไว้ที่นิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส
อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเธอตั้งจิตไว้ที่นิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
เลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์
ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้
รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เธอพิจารณาเห็นว่า ‘เราตั้งจิตไว้
เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นสำเร็จแล้วแก่เรา เอาเถิด บัดนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :226 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [3. สติปัฏฐานสังยุต]
1. อัมพปาลิวรรค 10. ภิกขุนูปัสสยสูตร

เราจะคุมจิตไว้’ เธอคุมจิตไว้ ไม่ตรึก และไม่ตรอง ย่อมรู้ชัดว่า
‘เราไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีสติในภายใน มีความสุข’
อานนท์ ภาวนาย่อมมีเพราะการตั้งจิตไว้ อย่างนี้
ภาวนาย่อมมีเพราะไม่ตั้งจิตไว้ อย่างไร
คือ ภิกษุไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่ได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก’
ลำดับนั้น เธอรู้ชัดว่า ‘จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไปข้างหลัง1หรือข้างหน้า2 หลุดพ้นแล้ว
ไม่ตั้งอยู่’ ต่อมาก็รู้ชัดว่า ‘เราพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ มีความสุข’
ภิกษุไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่ได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก’ ลำดับนั้น
เธอรู้ชัดว่า ‘จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไปข้างหลังหรือข้างหน้า หลุดพ้นแล้ว ไม่ตั้งอยู่’
ต่อมาก็รู้ชัดว่า ‘เราพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ มีความสุข”
ภิกษุไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่ได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก’ ลำดับนั้น
เธอรู้ชัดว่า ‘จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไปข้างหลังหรือข้างหน้า หลุดพ้นแล้ว ไม่ตั้งอยู่’
ต่อมาก็รู้ชัดว่า ‘เราพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
มีความสุข’
ภิกษุไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่ได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก’ ลำดับนั้น
เธอรู้ชัดว่า ‘จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไปข้างหลังหรือข้างหน้า หลุดพ้นแล้ว ไม่ตั้งอยู่’
ต่อมาก็รู้ชัดว่า ‘เราพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ มีความสุข’
อานนท์ ภาวนาย่อมมีเพราะไม่ตั้งจิตไว้ อย่างนี้
อานนท์ ภาวนาเพราะการตั้งจิตไว้เราได้แสดงแล้ว ภาวนาเพราะการไม่ตั้งจิตไว้
เราก็ได้แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้