เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [3. สติปัฏฐานสังยุต]
1. อัมพปาลิวรรค 10. ภิกขุนูปัสสยสูตร

หลายรูปเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับ
ท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ ภิกษุณีจำนวนมากในพระธรรมวินัยนี้มีจิต
ตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน 4 ประการอยู่ ย่อมรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษที่
มีอยู่ก่อน”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ข้อนี้เป็นอย่างนั้น น้องหญิง
ทั้งหลาย ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีจิตตั้งมั่นดีใน
สติปัฏฐาน 4 ประการอยู่ ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้คุณวิเศษ
อันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษที่มีอยู่ก่อน” จากนั้นได้ชี้แจงให้ภิกษุณีเหล่านั้นเห็นชัด
ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น
ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกจากอาสนะจากไป
ต่อมา ท่านพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต
ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวรเข้าไปยังสำนักภิกษุณีแห่งหนึ่ง นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ลำดับนั้น ภิกษุณี
จำนวนมากเข้ามาหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับ
ข้าพระองค์ดังนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ภิกษุณีจำนวนมากในพระธรรมวินัยนี้มีจิตตั้งมั่นดี
ในสติปัฏฐาน 4 ประการอยู่ ย่อมรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษที่มีอยู่ก่อน’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อภิกษุณีทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์จึงกล่าวว่า
‘น้องหญิงทั้งหลาย ข้อนี้เป็นอย่างนั้น น้องหญิงทั้งหลาย ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ภิกษุ
หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งมีจิตตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน 4 ประการอยู่ ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้น
พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษที่มีอยู่ก่อน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งมีจิตตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน 4 ประการอยู่
ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษที่
มีอยู่ก่อน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :225 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [3. สติปัฏฐานสังยุต]
1. อัมพปาลิวรรค 10. ภิกขุนูปัสสยสูตร

สติปัฏฐาน 4 ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายใน
กายอยู่ ความเร่าร้อนในกายที่มีกายเป็นอารมณ์เกิดขึ้น
บ้าง จิตหดหู่บ้าง จิตฟุ้งซ่านไปภายนอกบ้าง ภิกษุนั้นพึงตั้งจิต
ไว้ที่นิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อ
เธอตั้งจิตไว้ที่นิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่ง
ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ
กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้ง
มั่น เธอพิจารณาเห็นว่า ‘เราตั้งจิตไว้เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์
นั้นสำเร็จแล้วแก่เรา เอาเถิด บัดนี้เราจะคุมจิตไว้’ เธอคุมจิตไว้
ไม่ตรึก และไม่ตรอง ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มี
สติในภายใน มีความสุข’
2. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ...
3. พิจารณาเห็นจิตในจิต ...
4. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ความเร่าร้อนในกายที่มี
ธรรมเป็นอารมณ์เกิดขึ้นบ้าง จิตหดหู่บ้าง จิตฟุ้งซ่านไปภายนอก
บ้าง ภิกษุนั้นพึงตั้งจิตไว้ที่นิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส
อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเธอตั้งจิตไว้ที่นิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
เลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์
ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้
รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เธอพิจารณาเห็นว่า ‘เราตั้งจิตไว้
เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นสำเร็จแล้วแก่เรา เอาเถิด บัดนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :226 }