เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [1. มัคคสังยุต]
2. วิหารวรรค 8. ปฐมกุกกุฏารามสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 8 ประการนี้แลบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน
ปราศจากความเศร้าหมอง ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น เว้นวินัยของพระสุคต ย่อมไม่
เกิดขึ้น”

ทุติยปริสุทธสูตรที่ 7 จบ

8. ปฐมกุกกุฏารามสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมในกุกกุฏาราม สูตรที่ 1

[18] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์กับท่านพระภัททะอยู่ที่กุกกุฏาราม เขตเมือง
ปาฏลีบุตร ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระภัททะออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปหาท่าน
พระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า
“ท่านอานนท์ ที่เรียกกันว่า ‘อพรหมจรรย์ อพรหมจรรย์’ อพรหมจรรย์
เป็นอย่างไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ดีละ ดีละ ท่านภัททะ ปัญญาใฝ่รู้1ของท่าน
ดีนัก ปฏิภาณดีนัก สอบถามเข้าที ก็ท่านถามว่า ‘ที่เรียกกันว่า ‘อพรหมจรรย์
อพรหมจรรย์’ อพรหมจรรย์เป็นอย่างไร’ อย่างนั้นหรือ”
“อย่างนั้น ผู้มีอายุ”
“ผู้มีอายุ มิจฉามรรค (ทางผิด) มีองค์ 8 นี้แลเป็นอพรหมจรรย์ ได้แก่

1. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ 8. มิจฉาสมาธิ

ปฐมกุกกุฏารามสูตรที่ 8 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [1. มัคคสังยุต]
2. วิหารวรรค 10. ตติยกุกกุฏารามสูตร

9. ทุติยกุกกุฏารามสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมในกุกกุฏาราม สูตรที่ 2

[19] เรื่องเกิดขึ้นที่เมืองปาฏลีบุตร
ท่านพระภัททะได้เรียนถามท่านพระอานนท์ว่า “ท่านอานนท์ ที่เรียกกันว่า
‘พรหมจรรย์ พรหมจรรย์’ พรหมจรรย์เป็นอย่างไร ที่สุดแห่งพรหมจรรย์เป็นอย่างไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ดีละ ดีละ ท่านภัททะ ปัญญาใฝ่รู้ของท่านดีนัก
ปฏิภาณดีนัก สอบถามเข้าที ก็ท่านถามว่า ‘ที่เรียกกันว่า ‘พรหมจรรย์ พรหมจรรย์’
พรหมจรรย์เป็นอย่างไร ที่สุดแห่งพรหมจรรย์เป็นอย่างไร’ อย่างนั้นหรือ”
“อย่างนั้น ผู้มีอายุ”
“ผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้แลเป็นพรหมจรรย์ ได้แก่

1. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ 8. สัมมาสมาธิ

ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ โทสะ และโมหะ นี้เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์”

ทุติยกุกกุฏารามสูตรที่ 9 จบ

10. ตติยกุกกุฏารามสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมในกุกกุฏาราม สูตรที่ 3

[20] เรื่องเกิดขึ้นที่เมืองปาฏลีบุตร
ท่านพระภัททะได้เรียนถามท่านพระอานนท์ว่า “ท่านอานนท์ ที่เรียกกันว่า
‘พรหมจรรย์ พรหมจรรย์’ พรหมจรรย์เป็นอย่างไร พรหมจารีเป็นอย่างไร ที่สุด
แห่งพรหมจรรย์เป็นอย่างไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ดีละ ดีละ ท่านภัททะ ปัญญาใฝ่รู้ของท่านดีนัก
ปฏิภาณดีนัก สอบถามเข้าที ก็ท่านถามว่า ‘ที่เรียกกันว่า ‘พรหมจรรย์ พรหมจรรย์’
พรหมจรรย์เป็นอย่างไร พรหมจารีเป็นอย่างไร ที่สุดแห่งพรหมจรรย์เป็นอย่างไร’
อย่างนั้นหรือ”
“อย่างนั้น ผู้มีอายุ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :22 }