เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
8. นิโรธวรรค 8. ปหานสูตร

5. อนิจจสูตร
ว่าด้วยอนิจจสัญญา

[252] “ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา(ความหมายรู้ความไม่เที่ยง) ที่บุคคล
เจริญแล้ว ฯลฯ

อนิจจสูตรที่ 5 จบ

6. ทุกขสูตร
ว่าด้วยทุกขสัญญา

[253] “ภิกษุทั้งหลาย ทุกขสัญญา(ความหมายรู้ความเป็นทุกข์) ที่บุคคล
เจริญแล้ว ฯลฯ

ทุกขสูตรที่ 6 จบ

7. อนัตตสูตร
ว่าด้วยอนัตตสัญญา

[254] “ภิกษุทั้งหลาย อนัตตสัญญา (ความหมายรู้ความเป็นอนัตตา) ที่
บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

อนัตตสูตรที่ 7 จบ

8. ปหานสูตร
ว่าด้วยปหานสัญญา

[255] “ภิกษุทั้งหลาย ปหานสัญญา (ความหมายรู้การละ) ที่บุคคลเจริญ
แล้ว ฯลฯ

ปหานสูตรที่ 8 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
8. นิโรธวรรค 10. นิโรธสูตร

9. วิราคสูตร
ว่าด้วยวิราคสัญญา

[256] “ภิกษุทั้งหลาย วิราคสัญญา (ความหมายรู้วิราคะ) ที่บุคคลเจริญ
แล้ว ฯลฯ

วิราคสูตรที่ 9 จบ

10. นิโรธสูตร
ว่าด้วยนิโรธสัญญา

[257] “ภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา (ความหมายรู้นิโรธ) ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้วมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
นิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วมีผลมาก มีอานิสงส์มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยนิโรธสัญญา ฯลฯ
7. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยนิโรธสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
นิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อนิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วพึงหวังผลอย่าง 1
ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็น
พระอนาคามี
เมื่อนิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วพึงหวังผลอย่าง 1 ใน
2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นพระ
อนาคามี อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยนิโรธสัญญา ฯลฯ
7. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยนิโรธสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :197 }