เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
7. อานาปานวรรค 2. ปุฬวกสูตร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา ฯลฯ
7. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความสังเวชมาก อย่างนี้แล”

(5) ผาสุวิหารสูตร
ว่าด้วยอัฏฐิกสัญญาเป็นไปเพื่อความอยู่ผาสุก

“ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อความอยู่ผาสุกมาก
อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่ผาสุก
มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา ฯลฯ
7. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความอยู่ผาสุกมาก อย่างนี้แล”

อัฏฐิกมหัปผลสูตรที่ 1 จบ

2. ปุฬวกสูตร
ว่าด้วยปุฬวกสัญญา

[239] “ภิกษุทั้งหลาย ปุฬวกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่มีหนอนคลา
คล่ำเต็มไปหมด) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

ปุฬวกสูตรที่ 2 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
7. อานาปานวรรค 7. กรุณาสูตร

3. วินีลกสูตร
ว่าด้วยวินิลกสัญญา

[240] “ภิกษุทั้งหลาย วินีลกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำ
คละด้วยสีต่าง ๆ) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

วินีลกสูตรที่ 3 จบ

4. วิจฉิททกสูตร
ว่าด้วยวิจฉิททกสัญญา

[241] “ภิกษุทั้งหลาย วิจฉิททกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่ขาดจากกัน
เป็นท่อน ๆ) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

วิจฉิททกสูตรที่ 4 จบ

5. อุทธุมาตกสูตร
ว่าด้วยอุทธุมาตกสัญญา

[242] “ภิกษุทั้งหลาย อุทธุมาตกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่เน่าพอง
ขึ้นอืด) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

อุทธุมาตกสูตรที่ 5 จบ

6. เมตตาสูตร
ว่าด้วยเมตตา

[243] “ภิกษุทั้งหลาย เมตตาที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

เมตตาสูตรที่ 6 จบ

7. กรุณาสูตร
ว่าด้วยกรุณา

[244] “ภิกษุทั้งหลาย กรุณาที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

กรุณาสูตรที่ 7 จบ