เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
6. โพชฌังคสากัจฉวรรค 4. เมตตาสหคตสูตร

หากเธอหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งทั้ง 2 นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว เป็นผู้
มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้ง 2 นั้นอยู่
หรือเข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่’
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเมตตาเจโตวิมุตติว่ามีสุภวิโมกข์เป็นอย่างยิ่งสำหรับ
ภิกษุผู้มีปัญญาอันเป็นโลกิยะยังไม่รู้แจ้งวิมุตติที่ยอดเยี่ยมในธรรมวินัยนี้
กรุณาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็น
อย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยกรุณา ฯลฯ
7. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยกรุณา อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
ฯลฯ
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งทั้ง 2 นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้ง 2
นั้นอยู่ หรือบรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกรุณาเจโตวิมุตติว่ามีอากาสานัญจายตนฌานเป็น อย่างยิ่ง
สำหรับภิกษุผู้มีปัญญาอันเป็นโลกิยะยังไม่รู้แจ้งวิมุตติที่ยอดเยี่ยมในธรรมวินัยนี้
มุทิตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็น
อย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยมุทิตา ฯลฯ
7. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยมุทิตา อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :178 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
6. โพชฌังคสากัจฉวรรค 4. เมตตาสหคตสูตร

หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
ฯลฯ
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งทั้ง 2 นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้ง 2
นั้นอยู่ หรือบรรลุวิญญาณัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’
เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวมุทิตาเจโตวิมุตติว่ามีวิญญาณัญจายตนฌานเป็นอย่างยิ่ง
สำหรับภิกษุผู้มีปัญญาอันเป็นโลกิยะยังไม่รู้แจ้งวิมุตติที่ยอดเยี่ยมในธรรมวินัยนี้
อุเบกขาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็น
อย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอุเบกขา อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
7. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอุเบกขา อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่’
ก็มีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูล
อยู่’ ก็มีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :179 }