เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
6. โพชฌังคสากัจฉวรรค 3. อัคคิสูตร

พิจารณาในธรรมทั้งหลายในภายนอกด้วยปัญญาก็เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คำว่า
‘ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้นจึง
เป็น 2 ประการ
แม้ความเพียรทางกายก็เป็นวิริยสัมโพชฌงค์ แม้ความเพียรทางจิตก็เป็น
วิริยสัมโพชฌงค์ คำว่า ‘วิริยสัมโพชฌงค์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้
วิริยสัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น 2 ประการ
แม้ปีติที่มีวิตกวิจารก็เป็นปีติสัมโพชฌงค์ แม้ปีติที่ไม่มีวิตกวิจารก็เป็นปีติ-
สัมโพชฌงค์ คำว่า ‘ปีติสัมโพชฌงค์’ ย่อมมาสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ ปีติ-
สัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น 2 ประการ
แม้กายปัสสัทธิก็เป็นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ แม้จิตตปัสสัทธิก็เป็นปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ คำว่า ‘ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น 2 ประการ
แม้สมาธิที่มีวิตกวิจารก็เป็นสมาธิสัมโพชฌงค์ แม้สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจารก็เป็น
สมาธิสัมโพชฌงค์ คำว่า ‘สมาธิสัมโพชฌงค์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้
สมาธิสัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น 2 ประการ
แม้อุเบกขาในธรรมทั้งหลายในภายในก็เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ แม้อุเบกขา
ในธรรมทั้งหลายในภายนอกก็เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ คำว่า ‘อุเบกขาสัมโพชฌงค์’
ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น 2 ประการ
ภิกษุทั้งหลาย เหตุนี้แลที่โพชฌงค์ 7 ประการอาศัยกลายเป็น 14 ประการ”

ปริยายสูตรที่ 2 จบ

3. อัคคิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยไฟ

[234] ครั้นในเวลาเช้า ภิกษุหลายรูปครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี (ความต่อไปเหมือนปริยายสูตร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :171 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
6. โพชฌังคสากัจฉวรรค 3. อัคคิสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกมีวาทะ
อย่างนี้ เธอทั้งหลายควรถามอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น
ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน เป็นเวลาเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน อนึ่ง
สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน เป็นเวลา
เพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน’
ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามอย่างนี้แล้วจักไม่สามารถ
ตอบให้บริบูรณ์ได้ จักถึงความลำบากอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามในสิ่งอันมิใช่วิสัย
ภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เรายังไม่เห็นบุคคลที่จะยังจิตให้ยินดีได้
ด้วยการตอบปัญหาเหล่านี้ เว้นตถาคตหรือสาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากคำสอน
ของตถาคตนี้
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้นยากที่จะให้ฟื้นขึ้นด้วย
ธรรมเหล่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะให้ไฟน้อยนิดลุกโพลง จึงใส่หญ้าสด
โคมัยเปียก ไม้สด พรมน้ำและโปรยฝุ่นลงในไฟนั้น เขาสามารถจะให้ไฟน้อยนิด
ลุกโพลงได้หรือ”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น
ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตหดหู่ จิตที่
หดหู่นั้นยากที่จะให้ฟื้นขึ้นด้วยธรรมเหล่านั้น
แต่สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น เป็นเวลาเพื่อเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็น
เวลาเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เป็นเวลาเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้นง่ายที่จะให้ฟื้นขึ้นด้วยธรรมเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :172 }