เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
6. โพชฌังคสากัจฉวรรค 2. ปริยายสูตร

แม้พยาบาทในภายใน1ก็เป็นนิวรณ์ แม้พยาบาทในภายนอก2ก็เป็นนิวรณ์
คำว่า ‘พยาบาทนิวรณ์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ พยาบาทนิวรณ์นั้นจึงเป็น
2 ประการ
แม้ถีนะก็เป็นนิวรณ์ แม้มิทธะก็เป็นนิวรณ์ คำว่า ‘ถีนมิทธนิวรณ์’ ย่อมไปสู่
อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ ถีนมิทธนิวรณ์นั้นจึงเป็น 2 ประการ
แม้อุทธัจจะก็เป็นนิวรณ์ แม้กุกกุจจะก็เป็นนิวรณ์ คำว่า ‘อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์’
ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์นั้นจึงเป็น 2 ประการ
แม้วิจิกิจฉาในธรรมทั้งหลายในภายใน3ก็เป็นนิวรณ์ แม้วิจิกิจฉาในธรรม
ทั้งหลายในภายนอก4ก็เป็นนิวรณ์ คำว่า ‘วิจิกิจฉานิวรณ์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้
ด้วยเหตุนี้ วิจิกิจฉานิวรณ์นั้นจึงเป็น 2 ประการ
ภิกษุทั้งหลาย เหตุนี้แลที่นิวรณ์ 5 ประการอาศัยกลายเป็น 10 ประการ
เหตุที่โพชฌงค์ 7 ประการอาศัยกลายเป็น 14 ประการ เป็นอย่างไร
คือ แม้สติในธรรมทั้งหลายในภายใน5ก็เป็นสติสัมโพชฌงค์ แม้สติในธรรม
ทั้งหลายในภายนอก6ก็เป็นสติสัมโพชฌงค์ คำว่า ‘สติสัมโพชฌงค์’ ย่อมไปสู่
อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ สติสัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น 2 ประการ
แม้ธรรมที่บุคคลเลือกเฟ้นตรวจสอบพินิจพิจารณาในธรรมทั้งหลายในภายใน
ด้วยปัญญาก็เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ แม้ธรรมที่บุคคลเลือกเฟ้นตรวจสอบพินิจ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
6. โพชฌังคสากัจฉวรรค 3. อัคคิสูตร

พิจารณาในธรรมทั้งหลายในภายนอกด้วยปัญญาก็เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คำว่า
‘ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้นจึง
เป็น 2 ประการ
แม้ความเพียรทางกายก็เป็นวิริยสัมโพชฌงค์ แม้ความเพียรทางจิตก็เป็น
วิริยสัมโพชฌงค์ คำว่า ‘วิริยสัมโพชฌงค์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้
วิริยสัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น 2 ประการ
แม้ปีติที่มีวิตกวิจารก็เป็นปีติสัมโพชฌงค์ แม้ปีติที่ไม่มีวิตกวิจารก็เป็นปีติ-
สัมโพชฌงค์ คำว่า ‘ปีติสัมโพชฌงค์’ ย่อมมาสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ ปีติ-
สัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น 2 ประการ
แม้กายปัสสัทธิก็เป็นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ แม้จิตตปัสสัทธิก็เป็นปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ คำว่า ‘ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น 2 ประการ
แม้สมาธิที่มีวิตกวิจารก็เป็นสมาธิสัมโพชฌงค์ แม้สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจารก็เป็น
สมาธิสัมโพชฌงค์ คำว่า ‘สมาธิสัมโพชฌงค์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้
สมาธิสัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น 2 ประการ
แม้อุเบกขาในธรรมทั้งหลายในภายในก็เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ แม้อุเบกขา
ในธรรมทั้งหลายในภายนอกก็เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ คำว่า ‘อุเบกขาสัมโพชฌงค์’
ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น 2 ประการ
ภิกษุทั้งหลาย เหตุนี้แลที่โพชฌงค์ 7 ประการอาศัยกลายเป็น 14 ประการ”

ปริยายสูตรที่ 2 จบ

3. อัคคิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยไฟ

[234] ครั้นในเวลาเช้า ภิกษุหลายรูปครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี (ความต่อไปเหมือนปริยายสูตร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :171 }