เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
6. โพชฌังคสากัจฉวรรค 2. ปริยายสูตร

ท่านทั้งหลายจงละนิวรณ์ 5 ประการอันเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลัง
ปัญญาแล้วเจริญโพชฌงค์ 7 ประการตามความเป็นจริงเถิด’ ผู้มีอายุทั้งหลาย
ในธรรมเทศนาหรืออนุสาสนีนี้ คือ ธรรมเทศนาของพระสมณโคดมกับธรรม-
เทศนาของพวกเรา หรืออนุสาสนีของพระสมณโคดมกับอนุสาสนีของพวกเราจะผิด
แผกแตกต่างกันอย่างไร’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิต
ของอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า ‘เราทั้งหลายจัก
รู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกมีวาทะ
อย่างนี้ เธอทั้งหลายควรถามอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เหตุที่นิวรณ์ 5 ประการ
อาศัยกลายเป็น 10 ประการ และเหตุที่โพชฌงค์ 7 ประการ อาศัยกลายเป็น
14 ประการมีอยู่หรือ’ พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามอย่างนี้แล้วจักไม่สามารถ
ตอบได้ จักถึงความลำบากอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวกอัญเดียรถีย์-
ปริพาชกถูกถามในสิ่งอันมิใช่วิสัย1
ภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เรายังไม่เห็นบุคคลที่จะทำจิตให้ยินดี
ได้ด้วยการตอบปัญหาเหล่านี้ เว้นตถาคตหรือสาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจาก
คำสอนของตถาคตนี้
เหตุที่นิวรณ์ 5 ประการอาศัยกลายเป็น 10 ประการ เป็นอย่างไร
คือ แม้กามฉันทะในภายใน2ก็เป็นนิวรณ์ แม้กามฉันทะในภายนอก3ก็เป็น
นิวรณ์ คำว่า ‘กามฉันทนิวรณ์’ ย่อมมาสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ กามฉันทนิวรณ์
นั้นจึงเป็น 2 ประการ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
6. โพชฌังคสากัจฉวรรค 2. ปริยายสูตร

แม้พยาบาทในภายใน1ก็เป็นนิวรณ์ แม้พยาบาทในภายนอก2ก็เป็นนิวรณ์
คำว่า ‘พยาบาทนิวรณ์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ พยาบาทนิวรณ์นั้นจึงเป็น
2 ประการ
แม้ถีนะก็เป็นนิวรณ์ แม้มิทธะก็เป็นนิวรณ์ คำว่า ‘ถีนมิทธนิวรณ์’ ย่อมไปสู่
อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ ถีนมิทธนิวรณ์นั้นจึงเป็น 2 ประการ
แม้อุทธัจจะก็เป็นนิวรณ์ แม้กุกกุจจะก็เป็นนิวรณ์ คำว่า ‘อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์’
ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์นั้นจึงเป็น 2 ประการ
แม้วิจิกิจฉาในธรรมทั้งหลายในภายใน3ก็เป็นนิวรณ์ แม้วิจิกิจฉาในธรรม
ทั้งหลายในภายนอก4ก็เป็นนิวรณ์ คำว่า ‘วิจิกิจฉานิวรณ์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้
ด้วยเหตุนี้ วิจิกิจฉานิวรณ์นั้นจึงเป็น 2 ประการ
ภิกษุทั้งหลาย เหตุนี้แลที่นิวรณ์ 5 ประการอาศัยกลายเป็น 10 ประการ
เหตุที่โพชฌงค์ 7 ประการอาศัยกลายเป็น 14 ประการ เป็นอย่างไร
คือ แม้สติในธรรมทั้งหลายในภายใน5ก็เป็นสติสัมโพชฌงค์ แม้สติในธรรม
ทั้งหลายในภายนอก6ก็เป็นสติสัมโพชฌงค์ คำว่า ‘สติสัมโพชฌงค์’ ย่อมไปสู่
อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ สติสัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น 2 ประการ
แม้ธรรมที่บุคคลเลือกเฟ้นตรวจสอบพินิจพิจารณาในธรรมทั้งหลายในภายใน
ด้วยปัญญาก็เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ แม้ธรรมที่บุคคลเลือกเฟ้นตรวจสอบพินิจ