เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
6. โพชฌังคสากัจฉวรรค 2. ปริยายสูตร

คือ ความสงบกาย ความสงบจิตมีอยู่ การไม่ทำมนสิการในธรรมเหล่านั้น
ให้มาก นี้ไม่เป็นอาหารที่ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
สมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ สมาธินิมิต อัพยัคคนิมิตมีอยู่ การไม่ทำมนสิการในนิมิตเหล่านั้นให้มาก นี้
ไม่เป็นอาหารที่ทำสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำสมาธิสัมโพชฌงค์
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ การไม่ทำมนสิการ
ในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้ไม่เป็นอาหารที่ทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่”

อาหารสูตรที่ 1 จบ

2. ปริยายสูตร
ว่าด้วยเหตุที่นิวรณ์และโพชฌงค์อาศัย

[233] ครั้นในเวลาเช้า ภิกษุหลายรูปครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า “การเที่ยวไปบิณฑบาต
ยังกรุงสาวัตถียังเช้านัก ทางที่ดี เราทั้งหลายควรจะเข้าไปยังอารามของพวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชก”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :167 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
6. โพชฌังคสากัจฉวรรค 2. ปริยายสูตร

“ผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า
‘มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละนิวรณ์ 5 ประการอันเป็นความเศร้าหมอง
แห่งจิต ทอนกำลังปัญญาแล้วเจริญโพชฌงค์ 7 ประการตามความเป็นจริงเถิด’
แม้แต่เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงละนิวรณ์ 5 ประการอันเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลัง
ปัญญาแล้วเจริญโพชฌงค์ 7 ประการตามความเป็นจริงเถิด’ ผู้มีอายุทั้งหลาย
ในธรรมเทศนาหรืออนุสาสนีนี้ คือ ธรรมเทศนาของพระสมณโคดมกับธรรม-
เทศนาของพวกเรา หรืออนุสาสนีของพระสมณโคดมกับอนุสาสนีของพวกเราจะผิด
แผกแตกต่างกันอย่างไร”
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้น ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า “เราทั้งหลายจักรู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิต
นี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค”
ภิกษุเหล่านั้นครั้นเที่ยวไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภาย
หลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายครองอันตรวาสก ถือ
บาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘การเที่ยวไป
บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถียังเช้านัก ทางที่ดี เราทั้งหลายควรจะเข้าไปยังอารามของ
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก’
ครั้งนั้นแล ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงได้เข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียถีย์
ปริพาชกได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวกับข้าพระองค์ทั้งหลายดังนี้ว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า
‘มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละนิวรณ์ 5 ประการอันเป็นความเศร้าหมอง
แห่งจิต ทอนกำลังปัญญาแล้วเจริญโพชฌงค์ 7 ประการตามความเป็นจริงเถิด’
แม้แต่เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :168 }