เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [1. มัคคสังยุต]
1. อวิชชาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “นันทิยะ ธรรม 8 ประการนี้ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมให้ถึงนิพพาน มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด
ธรรม 8 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ 8. สัมมาสมาธิ

นันทิยะ ธรรม 8 ประการนี้แลที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมให้ถึงนิพพาน
มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นันทิยปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระ
โคดมทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของ
ที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด1 ด้วยตั้งใจว่า
‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดมพร้อมทั้งพระธรรมและ
พระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

นันทิยสูตรที่ 10 จบ
อวิชชาวรรคที่ 1 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อวิชชาสูตร 2. อุปัฑฒสูตร
3. สารีปุตตสูตร 4. ชาณุสโสณิพราหมณสูตร
5. กิมัตถิยสูตร 6. ปฐมอัญญตรภิกขุสูตร
7. ทุติยอัญญตรภิกขุสูตร 8. วิภังคสูตร
9. สูกสูตร 10. นันทิยสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [1. มัคคสังยุต]
2. วิหารวรรค 1. ปฐมวิหารสูตร

2. วิหารวรรค
หมวดว่าด้วยวิหารธรรม
1. ปฐมวิหารสูตร
ว่าด้วยวิหารธรรม สูตรที่ 1

[11] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นสักครึ่งเดือน
ใคร ๆ อย่าเข้าไปหาเรา ยกเว้นภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ในครึ่งเดือนนี้จึงไม่มีใครเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเลย ยกเว้นภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตไปทูลถวายรูปเดียว
ครั้นครึ่งเดือนนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นแล้ว รับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแรกตรัสรู้ ได้อยู่ด้วยส่วนแห่ง
วิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่) รู้ชัดอย่างนี้ว่า
‘เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
ฯลฯ
เพราะมิจฉาสมาธิเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัมมาสมาธิเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะฉันทะเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะวิตกเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัญญาเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะฉันทะ วิตก และสัญญาเป็นธรรมไม่สงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะฉันทะ วิตก และสัญญาเป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
ความพยายามเพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ1มีอยู่ แต่เพราะเมื่อยังไม่ได้บรรลุ
ฐานะ2นั้นเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี”

ปฐมวิหารสูตรที่ 1 จบ