เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
4. นีวรณวรรค 3. อุปักกิเลสสูตร

โยนิโสมนสิการ โยนิโสมนสิการบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น ภิกษุผู้ถึง
พร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญโพชฌงค์ 7 ประการ
ทำโพชฌงค์ 7 ประการให้มาก’
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญโพชฌงค์ 7 ประการ ทำ
โพชฌงค์ 7 ประการให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
7. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ เจริญโพชฌงค์ 7 ประการ
ทำโพชฌงค์ 7 ประการให้มาก อย่างนี้แล”

ทุติยกุสลสูตรที่ 2 จบ

3. อุปักกิเลสสูตร
ว่าด้วยความเศร้าหมองแห่งจิต

[214] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง 5 ประการนี้เป็นเหตุให้ทอง
เศร้าหมอง ไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผุดผ่อง แตกง่าย ใช้งานไม่ได้ดี
สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. เหล็กเป็นสิ่งเศร้าหมองแห่งทอง เป็นเหตุให้ทองเศร้าหมอง ไม่
อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผุดผ่อง แตกง่าย ใช้งานไม่ได้ดี
2. โลหะเป็นสิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ฯลฯ
3. ดีบุกเป็นสิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ฯลฯ
4. ตะกั่วเป็นสิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :146 }