เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
3. อุทายิวรรค 10. อุทายิสูตร

โพชฌงค์ 7 ประการที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึง
เป็นไปเพื่อละธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
7. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
โพชฌงค์ 7 ประการที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงเป็น
ไปเพื่อละธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เป็นอย่างไร
คือ จักขุ (ตา) เป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เครื่องผูกคือสังโยชน์ ความถือ
มั่น ย่อมเกิดขึ้นที่จักขุนี้ โสตะ (หู) ... ฆานะ (จมูก) ... ชิวหา (ลิ้น) เป็นธรรม
ที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เครื่องผูกคือสังโยชน์ ความถือมั่น ย่อมเกิดขึ้นที่โสตะ ...
ฆานะ ... ชิวหานี้ ฯลฯ มโน (ใจ) เป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เครื่องผูกคือ
สังโยชน์ ความถือมั่น ย่อมเกิดขึ้นที่มโนนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์”

เอกธัมมสูตรที่ 9 จบ

10. อุทายิสูตร
ว่าด้วยพระอุทายี

[211] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวสุมภะชื่อ
เสตกะ แคว้นสุมภะ ครั้งนั้นแล ท่านพระอุทายีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่ข้าพระองค์มีความรัก
ความเคารพ ความละอาย และความเกรงกลัวในพระผู้มีพระภาคมากเหลือเกิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :142 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
3. อุทายิวรรค 10. อุทายิสูตร

เพราะเมื่อก่อน ข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์อยู่ครองเรือน ไม่คุ้นเคยกับพระธรรม
ไม่คุ้นเคยกับพระสงฆ์ ข้าพระองค์นั้นเมื่อมีความรัก ความเคารพ ความละอาย
และความเกรงกลัวในพระผู้มีพระภาค จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ว่า ‘รูปเป็นดังนี้ ความเกิดแห่งรูปเป็นดังนี้
ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ฯลฯ สัญญาเป็นดังนี้ ... สังขารเป็นดังนี้
... วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็น
ดังนี้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อยู่ในเรือนว่าง พิจารณาความเกิดและความ
เสื่อมแห่งอุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้ ได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกข-
สมุทัย (เหตุเกิดทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อ
ปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์)’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม1ที่ข้าพระองค์บรรลุแล้ว
และมรรค2ที่ข้าพระองค์ได้แล้ว ที่ข้าพระองค์เจริญทำให้มากแล้วนั้น จักนำข้าพระ
องค์ผู้อยู่เพื่อความเป็นอย่างนั้นไปโดยประการที่จักรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สติสัมโพชฌงค์ที่ข้าพระองค์ได้แล้ว ที่ข้าพระองค์เจริญ
ทำให้มากแล้วนั้น จักนำข้าพระองค์ผู้อยู่เพื่อความเป็นอย่างนั้นไปโดยประการที่จักรู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ข้าพระองค์
ได้แล้ว ที่ข้าพระองค์เจริญ ทำให้มากแล้วนั้น จักนำข้าพระองค์ผู้อยู่เพื่อความเป็น
อย่างนั้นไปโดยประการที่จักรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่
ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
มรรคที่ข้าพระองค์ได้แล้ว ที่ข้าพระองค์เจริญ ทำให้มากแล้วนั้น จักนำข้าพระองค์ผู้
อยู่เพื่อความเป็นอย่างนั้นไปโดยประการที่จักรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”