เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
3. อุทายิวรรค 10. อุทายิสูตร

โพชฌงค์ 7 ประการที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึง
เป็นไปเพื่อละธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
7. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
โพชฌงค์ 7 ประการที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงเป็น
ไปเพื่อละธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เป็นอย่างไร
คือ จักขุ (ตา) เป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เครื่องผูกคือสังโยชน์ ความถือ
มั่น ย่อมเกิดขึ้นที่จักขุนี้ โสตะ (หู) ... ฆานะ (จมูก) ... ชิวหา (ลิ้น) เป็นธรรม
ที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เครื่องผูกคือสังโยชน์ ความถือมั่น ย่อมเกิดขึ้นที่โสตะ ...
ฆานะ ... ชิวหานี้ ฯลฯ มโน (ใจ) เป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เครื่องผูกคือ
สังโยชน์ ความถือมั่น ย่อมเกิดขึ้นที่มโนนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์”

เอกธัมมสูตรที่ 9 จบ

10. อุทายิสูตร
ว่าด้วยพระอุทายี

[211] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวสุมภะชื่อ
เสตกะ แคว้นสุมภะ ครั้งนั้นแล ท่านพระอุทายีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่ข้าพระองค์มีความรัก
ความเคารพ ความละอาย และความเกรงกลัวในพระผู้มีพระภาคมากเหลือเกิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :142 }